ลำต้น
ลำต้นเป็นโครงสร้างของพืชที่เจริญถัดขึ้นมาจากราก ลำต้นมีข้อปล้อง บริเวณข้อจะมีใบ ที่ซอกใบมีตา ลำต้นทำหน้าที่ชูกิ่ง ใบ ดอก ผล และทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร ธาตุอาหาร และน้ำ
12.1. เนื้อเยื่อบริเวณปลายยอด
เมื่อตัดตามยาวผ่านกลางส่วนปลายยอด แล้วนำไปศึกษาลักษณะเนื้อเยื่อโดยใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายต่างๆ จะเห็นเซลล์มีลักษณะขนาด รูปร่าง และการเรียงตัวเป็นบริเวณต่างๆ ดังนี้
รูปที่1- ปลายตัดตามยาวของต้นฤๅษีผสม
1. เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (apical meristem) เป็นบริเวณปลายสุดของลำต้น เซลล์บริเวณนี้จะแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา
2. ใบเริ่มเกิด (leaf primordium) อยู่ตรงด้านข้างของปลายยอดส่วนที่เป็นขอบของความโค้ง ถ้าพืชตัวอย่างที่ศึกษามีใบแบบตรงข้ามกันจะเห็นใบเริ่มเกิดอยู่ 2 ข้าง ใบเริ่มเกิดนี้ต่อไปจะพัฒนาเป็นใบอ่อน ตรงโคนของใบเริ่มเกิดจะเห็นเซลล์ขนาดเล็กรูปร่างยาวเรียงตัวเป็นแนวยาวจากลำต้นขึ้นไปจนถึงใบอ่อน
3. ใบอ่อน (young leaf) เป็นใบที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เซลล์ของใบยังมีการแบ่งเซลล์ และเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงเซลล์ต่อไปอีกจนในที่สุดจะได้เป็นใบที่เจริญเต็มที่
4. ลำต้นอ่อน (young stem) อยู่ถัดจากตำแหน่งใบเริ่มเกิดลงมา ลำต้นส่วนใต้ใบอ่อนก็ยังเป็นลำต้นระยะที่ยังเจริญไม่เต็มที่ กล่าวคือ เซลล์บางบริเวณอาจพัฒนาไปจนเจริญเต็มที่ในระดับหนึ่งแล้ว แต่บางบริเวณยังแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวน และขยายขนาดต่อไปได้อีก
12.2 โครงสร้างภายในลำต้น
12.2.1 ลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่
เมื่อตัดลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่ที่ยังอ่อนอยู่ตามขวาง แล้วนำมาศึกษาจะพบลักษณะการเรียงตัวของลำต้นและรากคล้ายกันและลำต้นมีการเรียงตัว ดังนี้
1) เอพิเดอร์มิส ( Epidermis ) อยู่ชั้นนอกสุด ปกติเป็นเซลล์เรียงตัวชั้นเดียว ไม่มีคลอโรฟิลล์ อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นขน หนาม หรือเซลล์คุม ( Guard Cell ) ผิวด้านนอกของ
เอพิ-ดอร์มิสมักมีสารพวกคิวทิน เคลือบอยู่เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ
2) คอร์เทกซ์ ( Cortex ) มีอาณาเขตแคบกว่าในรากเซลล์ ส่วนนี้ส่วนใหญ่เป็นเซลล์พาเรงคิมาเรียงตัวกันหลายชั้น เซลล์พวกนี้มักมีสีเขียวและสังเคราะห์ด้วยแสงได้ด้วย นอกจากนี้ยังช่วยสะสมน้ำและอาหารให้แก่พืช เซลล์ชั้นคอร์เทกซ์ที่อยู่ติดกับเอพิเดอร์มิสเป็นเซลล์เล็กๆ 2-3 แถว คือ เซลล์พวกคอลเลงคิมา และมีเซลล์สเกลอเรงคิมาแทรกอยู่ช่วยให้ลำต้นแข็งแรงขึ้น การแตกกิ่งของพืชจะแตกในชั้นนี้เรียกว่า “ เอกโซจีนัสบรานชิ่ง ( Exogenous branching )” ซึ่งแตกต่างจากรากซึ่งเป็นเอนโดจีนัสบรานชิ่ง ชั้นในของคอร์เทกซ์คือ เอนโดเดอร์มิสเป็นเซลล์เรียงตัวชั้นเดียวในลำต้น พืชส่วนใหญ่มักเห็นชั้นเอนโดเดอร์มิสได้ไม่ชัดเจนหรือไม่เห็นเลยซึ่งแตกต่างจากรากซึ่งมีและเห็นชัดเจน เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการหลั่งสาร ( Secretory Cell ) เช่น เรซิน ( Resin ) น้ายาง ( Latex ) ก็อยู่ในชั้นนี้
3) สตีล ( Stele ) ในลำต้นฃั้นสองของสตีลจะแคบมากและแบ่งออกจากชั้นของคอร์เทกซ์ได้ไม่ชัดเจนนัก และแตกต่างจากในราก ประกอบด้วย
3.1 มัดท่อลำเลียง อยู่เป็นกลุ่มๆ ด้านในเป็นไซเลม ด้านนอกเป็นโฟลเอ็มเรียงตัวในแนวรัศมีเดียวกัน
3.2 วาสคิวลาร์เรย์ เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่อยู่ระหว่างมัดท่อลำเลียง เชื่อมต่อระหว่างคอร์เทกซ์และพิธ
3.3 พิธ อยู่ชั้นในสุดเป็นไส้ในของลำต้นประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิมา ทำหน้าที่สะสมแป้งหรือสารต่างๆ เช่น ผลึกแทนนิน ( Tannin ) พิธที่แทรกอยู่ในมัดท่อลำเลียงจะดูดคล้ายรัศมี เรียกว่า พิธเรย์ ( Pith Ray ) ทำหน้าที่สะสมอาหาร ช่วยลำเลียงน้ำ เกลือแร่ และอาหารไปทางด้านข้างของลำต้น
รูปที่2- วาสคิวลาร์แคมเบียมเซลล์สองชนิด เปลือกไม้และเนื้อไม้
ที่มา : คู่มือการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติมชีววิทยา ม.5 เล่ม3-4 หน้า 355
12.2.2 ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตขั้นต้น ( Primary Growth ) เท่านั้น มีชั้นต่างๆเช่นเดียวกับพืชใบเลี้ยงคู่ต่างกันที่มัดท่อลำเลียงรวมกันเป็นกลุ่มๆประกอบด้วยเซลล์ค่อนข้างกลมขนาดใหญ่ 2 เซลล์ ซึ่งได้แก่ไซเลมและเซลล์เล็กๆ ด้านบนคือโฟลเอ็ม ส่วนทางด้านล่างของไซเลมเป็นช่องกลมๆ เช่นกันคือช่องอากาศมัดท่อลำเลียงของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีบันเดิลชีท
( Bundle Sheath ) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อพวกพาเรงคิมาที่มีแป้งสะสมหรืออาจเป็นเนื้อเยื่อสเกลอเรงคิมามาหุ้มล้อมรอบเอาไว้ กลุ่มของมัดท่อลำเลียงจะกระจายทุกส่วนของลำต้น แต่มักอยู่รอบนอกมากว่ารอบในและมัดท่อลำเลียงไม่มีเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างหรือแคมเบียมคั่นอยู่ พืชพวกนี้จึงเจริญเติบโตด้านข้างจำกัด แต่มักจะสูงขึ้นได้มาก เนื่องจากพืชใบเลี้ยเดี่ยวมีเนื้อเยื่อเจริญบริเวณข้อทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น ในพืชบางชนิดส่วนของพืชจะสลายไปกลายเป็นช่องกลวงอยู่กลางลำต้น เรียกว่า
“ ช่องพิธ ( Pith Cavity ) ” เช่น ในลำต้นของไผ่ หญ้า เป็นต้น
ในพืชพวกหมากผู้หมากเมีย และจันทน์ผา จะมีมัดท่อลำเลียงคล้ายพืชใบเลี้ยงคู่และมีแคมเบียมด้วยทำให้เจริญเติบโดทางด้านข้างได้และยังสามารถสร้างคอร์กขึ้นได้เมื่อมีอายุมากขึ้น
รูปที่3-ภาพ โครงสร้างภาคตัดขวางของลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่
ภาพซ้าย ภาคตัดขวางลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่
ภาพขวา ภาคตัดขวางลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ภาพซ้าย ภาคตัดขวางลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่
ภาพขวา ภาคตัดขวางลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ตารางแสดงความแตกต่างระหว่างลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่กับลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
|
ลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่
|
1. มีข้อและปล้องเห็นได้ชัดเจน
2. ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา
3.มัดท่อน้ำท่ออาหารกระจายไปทั่วลำต้น
4. ส่วนมากไม่มีแคมเบียม
5. ส่วนมากไม่มีการเจริญขั้นที่สอง
6. ส่วนมากไม่มีวงปี
7. โฟลเอ็มและไซเลมมีอายุการในการทำงาน
|
1. เห็นได้ไม่ชัดเจนนัก
2. มีกิ่งก้านสาขามาก
3. มัดท่อน้ำท่ออาหารเรียงตัวเป็นวงรอบลำต้น
4. ส่วนมากมีแคมเบียม นอกจากพืชล้มลุกบางชนิดไม่มี
5. ส่วนมากมีการเจริญขั้นที่สองและเจริญไปเรื่อยๆสัมพันธ์กับความสูง
6. ส่วนมากมีวงปี
7. โฟลเอ็มและไซเลมมีอายุการทำงานสั้น แต่จะมีการสร้างขึ้นมาทดแทนอยู่เรื่อยๆโดยแคมเบียม
|
การเจริญเติบโตขั้นที่สองของลำต้นใบเลียงคู่
พืชใบเลี้ยงคู่ที่มีเนื้อไม้เป็นการเจริญเติบโตเพื่อขยายขนาดทางด้านข้างจะมีวาสคิวลาร์แคมเบียมเกิดขึ้นตรงแนวระหว่างไซเลม และโฟลเอ็มของการเจริญเติบโตขั้นแรก
วาสคิวลาร์แคมเบียม จะแบ่งเซลล์สร้างเนื้อเยื่อไซเลมขั้นที่สองเพิ่มขึ้นทางด้านในและสร้างเนื้อเยื่อโฟลเอ็มขั้นที่สองเพิ่มขึ้นทางด้านนอก การแบ่งเซลล์ได้ไซเลมขั้นที่สองจะเกิดขึ้นเร็วกว่าการเกิดโฟลเอ็มขั้นที่สอง ในพืชส่วนมากโฟลเอ็มขั้นแรกทางด้านนอกจะถูกโฟลเอ็มขั้นที่สองที่สร้างขึ้นใหม่เบียดจนสลายไปหมด
ในรอบ 1 ปี วาสคิวลาร์แคมเบียมของพืชที่มีเนื้อไม้จะมีการแบ่งเซลล์สร้างไซเลมและโฟลเอ็มขั้นที่สองจำนวนมากน้อยต่างกันในแต่ละฤดูขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำและแร่ธาตุอาหาร ในฤดูที่สิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ดี เช่น ฤดูฝน เซลล์ชั้นไซเลมจะเจริญเร็วมีขนาดใหญ่ทำให้ได้ชั้นไซเลมกว้าง และมีสีจาง ส่วนในฤดูแล้งเซลล์ชั้นไซเลมจะเจริญช้ามีขนาดเล็กเบียดกันแน่นทำให้เห็นเป็นแถบแคบๆ และมีสีเข้ม ลักษณะดังกล่าวทำให้เนื้อไม้มีสีจางและมีสีเข้มสลับกันมองเห็นเป็นวงเรียกว่า วงปี (annual ring) ดังรูป
รูปที่4- ภาพโครงสร้างลำต้นที่มีการเจริญขั้นที่สอง
ไซเลมที่มีอายุมากที่สุดจะอยู่ชั้นในสุดของลำต้น ถ้าเป็นลำต้นที่มีอายุมากๆ ไซเลมชั้นในจะไม่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำอีกต่อไป แต่จะทำหน้าที่ให้ความแข็งแรง และอาจสะสมสารอินทรีย์ต่างๆ มักมองเห็นไซเลมบริเวณนี้มีสีเข้มเรียกไซเลมบริเวณนี้ว่า “ แก่นไม้ ( heart wood )” ซึ่งจะมีความแข็งแรงมากกว่าบริเวณอื่น แก่นม้นี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไซเลมชั้นถัดออกมาที่มีอายุมากขึ้นและอุดตันกลายเป็นแก่นไม้เพิ่มขึ้น ส่วนไซเลมซึ่งอยู่รอบนอกซึ้งมีสีจางกว่าชั้นในก็ยังคงทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ และธาตุอาหารต่อไป เรียกชั้นนี้ว่า “ กระพี้ไม้ ( sap wood ) ” ชั้นกระพี้ไม้จะมีความหนาค่อนข้างคงที่ ทั้งกระพี้ไม้และแก่นไม้รวมกันเรียกว่า “ เนื้อไม้ ( wood ) ” ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อไซเลมทั้งหมด
เปลือกไม้
( bark ) คือ ส่วนที่อยู่ถัดจากวาสคิวลาร์แคมเบียมออกไปข้างนอก ในลำต้นที่มีอายุน้อยเปลือกไม้ประกอบด้วย เอพิเดอร์มิส คอร์เทกซ์ และโฟลเอ็ม ส่วนลำต้นที่มีอายุมากเอพิเดอร์มิสหลุดสลายไปเหลือแต่เนื้อเยื่อคอร์ก ( cork ) และคอร์กแคมเบียม ( cork cambium ) และอาจมีเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่เกิดจากการแบ่งตัวของคอร์กแคมเบียม รวมทั้งโฟลเอ็มครั้งที่สองที่สร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงอาหารแทนโฟลเอ็มขั้นแรกที่ถูกเบียดสลายไป
( bark ) คือ ส่วนที่อยู่ถัดจากวาสคิวลาร์แคมเบียมออกไปข้างนอก ในลำต้นที่มีอายุน้อยเปลือกไม้ประกอบด้วย เอพิเดอร์มิส คอร์เทกซ์ และโฟลเอ็ม ส่วนลำต้นที่มีอายุมากเอพิเดอร์มิสหลุดสลายไปเหลือแต่เนื้อเยื่อคอร์ก ( cork ) และคอร์กแคมเบียม ( cork cambium ) และอาจมีเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่เกิดจากการแบ่งตัวของคอร์กแคมเบียม รวมทั้งโฟลเอ็มครั้งที่สองที่สร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงอาหารแทนโฟลเอ็มขั้นแรกที่ถูกเบียดสลายไป
รูปที่ 5- ภาพการเกิดเนื้อเยื่อคอร์ก
ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ทั่วๆไปมักจะไม่มีการเจริญเติบโตขั้นที่สอง ยกเว้นพืชบางชนิด เช่น หมากผู้หมากเมีย และจันทน์ผา
ชนิดของลำต้น
สามารถจำแนกลำต้นออกตามแหล่งที่อยู่ได้สองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ลำต้นเหนือดินและลำต้นใต้ดิน
ลำต้นเหนือดิน (aerial stem)
1) ต้นไม้ยืนต้น (tree) เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นหลักต้นเดียว จากนั้นจึงแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณยอด ลักษณะเนื้อแข็ง ลำต้นมีขนาดใหญ่ อายุยืนหลายปี
2) ต้นไม้พุ่ม (shrub) เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นหลักหลายต้น มักมีเนื้อไม้แข็งแต่มีขนาดเล็กว่าไม้ยืนต้น แตกกิ่งก้านสาขาใกล้บริเวณผิวดิน
3) ต้นไม้ล้มลุก (herb) เป็นต้นไม้ที่มีเนื้อไม้อ่อนหรือไม่มีเนื้อไม้ ส่วนใหญ่มีอายุปีเดียว บางชนิดอาจอยู่ได้สองปี เมื่อครบวัฏจักรชีวิตจะตายไป ไม้ล้มลุกบางชนิดที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน เมื่อส่วนที่อยู่เหนือดินตายส่วนที่อยู่ใต้ดินจะพักตัวอยู่และงอกในฤดูถัดไป
ไม้ยืนต้น
ไม้พุ่ม
ไม้ล้มลุก
1.จำแนกตามลักษณะของเนื้อไม้
1) ลำต้นที่มีเนื้อไม้ (woody stem) ได้แก่ ลำต้นของต้นไม้ประเภทไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม
2) ลำต้นที่ไม่มีเนื้อไม้ (herbaceous stem) ได้แก่ ลำต้นของต้นไม้ประเภท ไม้ล้มลุก
2. ลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่พิเศษ
1) ลำต้นเลื้อย (creeping stem หรือ prostate stem) เป็นลำต้นที่เลื้อยไปตามผิวดินหรือผิวน้ำและมีรากงอกออกมาจากบริเวณข้อแล้วแทงลงดินเพื่อช่วยยึดลำต้น นอกจากนี้บริวเณข้อจะมีตาเจริญเป็นลำต้นแขนงยาวขนานไปกับพื้นดินหรือผิวน้ำ ซึ่งจะงอกรากและลำต้นขึ้นใหม่ เรียกว่า ไหล (stolon หรือ runner) เช่น สตรอเบอรี ผักบุ้ง ผักตบชวา
รูปที่7 - ภาพ ลำต้นชนิดครีพพิง สเต็ม (creeping stem)
2) ลำต้นปีนป่าย (climbing stem) เป็นลำต้นที่เลื้อยหรือไต่ขึ้นที่สูง มีลำต้นอ่อน เป็นพวกไม้เถา (vine) ได้แก่
- ทไวเนอร์ (twiner) เป็นไม้เถาที่ปีนป่ายขึ้นที่สูงโดยใช้ลำต้นพันกับหลักเป็นเกลียว เช่น ถั่วฝักยาว บางชนิดลำต้นเปลี่ยนไปเป็นมือพัน (tendril) ยืดหดได้คล้ายลวดสปริง เช่น องุ่น
รูปที่ 8 – ภาพ มือเกาะของต้นองุ่น
- รูตไคลม์เบอร์ (root climber) เป็นลำต้นที่ปีนป่ายขึ้นที่สูง โดยงอกรากออกจากข้อยึดติดกับหลักหรือต้นไม้ เช่น พลู พริกไทย
รูปที่ 9 – ภาพ รากเกาะของพริกไทย
- ลำต้นหนาม (spine หรือ thorny stem) เป็นลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นหนามรวมทั้งขอเกี่ยวสำหรับปีนป่ายขึ้นที่สูงและป้องกันอันตราย เช่น ส้ม
รูปที่ 10 – ภาพ ลำต้นหนามของต้นส้ม
- ฟีลโลเคลด (phylloclade) เป็นลำต้นที่มีลักษณะแบนจนกระทั่งคล้ายกับลักษณะของใบในพืชทั่ว ๆ ไป ลำต้นแบบนี้ปกติจะทำหน้าที่ของใบด้วย คือ สังเคราะห์แสง ดังนั้นพืชที่มีลำต้นแบบนี้จึงไม่มีใบหรือมีก็เล็กมาก เช่น ตะบองเพชร
- แคลโดฟีลล์ (cladophyll) หรือ แคลโดด (cladode) เป็นลำต้นที่เปลี่ยนไปมีลักษณะคล้ายใบเช่นเดียวกันกับฟีลโลเคลดแต่มักใช้กับกิ่งก้านที่เป็นเส้นเรียวเล็ก ทำหน้าที่แทนใบโดยมีสีเขียว สามารถสังเคราะห์แสงได้ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง สนปฏิพัทธ์
ลำต้นใต้ดิน (underground stem)
ลำต้นใต้ดินบางชนิดมักมีผู้เข้าใจผิดว่าเป็นราก ทั้งนี้เพราะลำต้นเหล่านี้ไม่มีคลอโรฟีลล์ มีรากเล็ก ๆ งอกออกมาซึ่งคล้ายกับรากแขนงที่แตกออกมาจากรากแก้ว การที่จะพิจารณาว่าลำต้นใต้ดินไม่ใช่รากสังเกตได้จากลำต้นเหล่านี้มีข้อและปล้องสั้น ๆ บางทีก็มีตาอยู่ตามข้อด้วย ลำต้นใต้ดินมีรูปร่างแตกต่างไปจากลำต้นเหนือดิน ส่วนใหญ่ทำหน้าที่สะสมอาหาร ได้แก่ ไรโซม ทูเบอร์ บัลบ์และคอร์ม
- 1) ไรโซม (rhizome) เป็นลำต้นใต้ดินที่มักขนานไปกับผิวดิน มีข้อและปล้องสั้น ๆ ตามข้อมีใบเกล็ดสีน้ำตาลไม่มีคลอโรฟีลล์หุ้มตาไว้ ตาสามารถแตกแขนงเป็นลำต้นใต้ดินหรือลำต้นและใบชูขึ้นเหนือดิน มีรากงอกลงดิน ลำต้นชนิดนี้มักเรียกว่า แง่ง หรือเหง้า เช่น ขิง ข่า ขมิ้น พุทธรักษา หญ้าคา หญ้าแพรก
สำหรับกล้วยเป็นลำต้นใต้ดินที่คล้ายไรโซม แต่มีลักษณะตั้งตรงแทนที่จะขนานไปกับผิวดิน จึงเรียกว่า รูตสต็อก (root stock) ส่วนที่เห็นคล้ายลำต้นซึ่งโผล่พ้นดินมีสีเขียวนั้นเป็นกาบใบที่แผ่ซ้อนกันเป็นมัดตั้งตรงคล้ายลำต้น
ก. ลำต้นใต้ดินของขมิ้น ข. ลำต้นใต้ดินของข่า
- 2) ทูเบอร์ (tuber) เป็นลำต้นใต้ดินสั้น ๆ ประกอบด้วยข้อและปล้องประมาณ 3-4 ปล้องเท่านั้น ไม่มีใบเกล็ด ลำต้นมีอาหารสะสมทำให้อวบอ้วน มีตาอยู่โดยรอบซึ่งมักจะบุ๋มลงไป สามารถงอกต้นใหญ่ชูขึ้นเหนือดินในบริเวณตานั้น ได้แก่ มันฝรั่ง
- 3) บัลบ์ (bulb) เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรง อาจโผล่พ้นดินขึ้นมาบ้าง มีปล้องสั้นมาก ตามปล้องมีใบเกล็ดซ้อนกันหลายชั้นห่อหุ้มลำต้นเอาไว้เห็นเป็นหัวขึ้นมา ใบเกล็ดนี้จะทำหน้าที่สะสมอาหาร ในขณะที่ลำต้นไม่มีอาหารสะสมอยู่ ส่วนล่างของลำต้นมีรากเป็นกระจุก เช่น หอม กระเทียม พลับพลึง
รูปที่ 13 – ภาพ ลำต้นแบบบัลบ์ของหัวหอมและกระเทียม
- 4.) คอร์ม (corm) เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรงเช่นเดียวกับบัลบ์ มีข้อปล้องเห็นชัดตามข้อมีใบเกล็ดบาง ๆ หุ้ม ลำต้นหน้าที่สะสมอาหารทำให้อวบอ้วน มีตาตามข้อสามารถงอกเป็นใบโผล่ขึ้นเหนือดินหรืออาจแตกเป็นลำต้นใต้ดินต่อไปได้ ส่วนล่างของลำต้นมีรากฝอยเส้นเล็ก ๆ จำนวนมาก เช่น เผือก แห้วจีน ซ่อนกลิ่นฝรั่ง
รูปที่ 14 – ภาพ ลำต้นแบบคอร์มของแห้วและเผือก
12.4 หน้าที่ของลำต้น
ลำต้นมีหน้าที่สำคัญ 2 อย่าง คือ
- 1. เป็นแกนสำหรับช่วยพยุง ( supporting ) กิ่งก้านสาขา ใบ และดอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยให้ใบกางออกรับแสงแดดมาก
- 2. เป็นตัวกลางสำหรับลำเลียง ( transportation ) น้ำ เกลือแร่ และอาหาร ส่งผ่านไปยังส่วนต่างๆของพืช
โดย ครู วัชวัลย์ ครุฑไชยันต์
ครู คศ.3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต
เนื้อหาดีมากคร้า
ตอบลบมีประโยชน์มาก ครับ ขอบคุณมากทีสร้างblog นี้ขึ้นมากครับ
ตอบลบเหมือนเนื้อหาที่คุณครูที่โรงเรียน ร.ว.สอนเลยยยค่าา
ตอบลบดีมากกๆ
ขอบคุณค่ะ เนื้อหาดีมากๆเลยค่ะ เข้าใจง่าย รูปภาพสวย
ตอบลบเข้าใจมากมาย ขอบคุณค่ะ
ตอบลบขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
ตอบลบอ่านแล้วเข้าใจมากๆเลยค่ะ
ตอบลบขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
ตอบลบขอบคุณมากๆค่ะ ข้อมูลนี้ช่วยได้มากจริงๆ การจัดเรียงเนื้อหาดีและเข้าใจง่าย ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
ตอบลบขอบคุณมากสำหรับข้อมูลค่ะ
ตอบลบขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
ตอบลบขอบคุณคะ ช่วยได้เยอะเลย ^ ^
ตอบลบขอบคุณค่ะ ช่วยในการทำงานได้เยอะเลย
ตอบลบเก็ทมาก
ตอบลบขอบคุณมากๆครับ
ตอบลบขอบคุณมากๆเลยครับ
ตอบลบขอบคุณมากค่า
ตอบลบกราบงามๆค่ะ������
ตอบลบปันปัน
ตอบลบสมหมายพ่อบอส
ตอบลบลูกตาหนึ่ง
ตอบลบ