หน้าเว็บ

โครงสร้างและหน้าที่ของใบ

12.3 โครงสร้างและหน้าที่ของใบ

โครงสร้างของใบ

1. เอพิเดอร์มีส (epidermis) เป็นเนื้อเยื่อที่เรียงกันเป็นชั้นเดียว มีอยู่ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ บางเซลล์ในชั้นเอพิเดอร์มีสนี้จะเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่ควบคุมการแลกเปลี่ยนก๊าซ เรียกว่า เซลล์คุม (guard cell) ตรงกลางของเซลล์คุมนี้จะมีปากใบ (stoma) ทำหน้าที่คายน้ำ และแลกเปลี่ยนก๊าซ ออกซิเจน กับ คาร์บอนไดออกไซด์


2. มีโซฟีลล์ (mesophyll) คือ ส่วนกลางของใบ แบ่งเป็น 2 บริเวณ คือ
2.1
พาลิเซด มีโซฟีลล์ เซลล์มีรูปร่างยาวเรียว เรียงตัวกันหนาแน่น 1-2 ชั้น ถัดจากเอพิเดอร์มีสด้านบน ในเซลล์จะมีคลอโรพลาสต์อยู่เต็ม เป็นชั้นที่เกิดการสังเคราะฆ์แสงได้มากที่สุด
2.2
สปันจี มีโซฟีลล์ อยู่ถัดจากชั้นพาลิเซคลงมา เซลล์รูปร่างไม่แน่นนอน อยู่กันอย่างหลวมๆ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างใบกับสิ่งแวดล้อมได้ดี ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสอยู่บ้าง

ภาพที่1 ภาพตัดของใบ

ภาพที่2 โครงสร้างภายในของใบ

ก้านใบ (petiole) คือ ส่วนคล้ายกิ่ง ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างลำต้นกับใบที่ไม่มีก้านใบเรียกว่า เซสไซล์ (sessile leaf) ลักษณะของก้านใบมีแตกต่างกันไปหลายแบบ เช่น
- พัลวินัส (pulvinus) คือ ส่วนก้านใบที่โป่งพองออกเล็กน้อย
- ก้านใบแผ่เป็นกาบ (sheathing leaf-base)
- ดีเคอร์เรนท์ (decurrent) คือ ก้านใบอาจรวมทั้งฐานใบแผ่ออกเป็นปีก แล้วโอบล้อมลำต้นลงไปจนถึงข้อด้านล่าง
- ก้านใบแผ่เป็นแผ่นคล้ายปีก (winged petiole)
- ก้านใบโป่งพอง เพื่อช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำ


ภาพที่3 ก้านใบของพืช

หูใบ (stipule)คือส่วนที่เจริญออกจากฐานใบ ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับ ตาอ่อนพบทั่วไปในพืชใบเลี้ยงคู่ แต่ไม่ค่อยพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ถ้ามีหูใบเรียกว่า สติพูเลท (stipulate leaf) ถ้าไม่มีหูใบเรียก เอกสติพูเลท(exstipulate leaf) ลักษณะของหูใบ เช่น
-
แอดเนท (adnate หรือ adherent) คือ มีหูใบ 2 อัน ซึ่งเชื่อมติดกับก้านใบทั้งสองด้านทำให้ดูคล้ายปีก
-
อินทราเพทิโอลาร์ (intrapetiolar stipule) หูใบอยู่ที่โคนก้านใบตรงบริเวณมุมระหว่างก้านใบกับลำต้น
-
อินเทอร์เพทิโอลาร์ (interpetiolar stipule) หูใบอยู่ระหว่างก้านใบที่ติดกับลำต้นแบบตรงข้าม
-
โอเครีย (ochrea) คือ หูใบ 2 อันที่เชื่อมติดกันกลายเป็นหลอดหุ้มลำต้นไว้ อาจเชื่อมเป็นหลอดตลอดความยาว หรืออาจมีส่วนปลายโอเครียแยกกันบ้าง
-
หูใบเปลี่ยนแปลงเป็นมือเกาะ (tendrillar stipule)
-
หูใบเปลี่ยนแปลงเป็นหนาม
-
หูใบเปลี่ยนเป็นกาบหุ้มยอดอ่อนของลำต้น
-
หูใบแผ่ออกคล้ายใบ (foliaceous stipule)

แผ่นใบ (lamina หรือ blade) คือ ส่วนที่แผ่แบนออกเป็นแผ่นซึ่งอาจมีรูปร่างแตกต่างกันไปหลายแบบดังนี้
ปลายใบ (leaf apex) คือ ส่วนบนหรือปลายสุดของแผ่นใบซึ่งมีลักษณะต่างๆ กัน
ฐานใบ (leaf base) คือ ส่วนของแผ่นใบที่บริเวณติดกับก้านใบ ซึ่งมีการผันแปรแตกต่างกันไปได้หลายลักษณะ
ขอบใบ (leaf margin) มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป

ชนิดของใบ แบ่งออกเป็น

1. ใบเดี่ยว (simple leaf) คือ ใบที่มีแผ่นใบ 1 แผ่นติดอยู่บนก้านใบ 1 ก้าน
2. ใบประกอบ (compound leaf) คือ ใบที่มีแผ่นใบย่อย (leaflet) ตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปติดอยู่บนก้านใบ 1 ก้าน แบ่งออกเป็น
-
ใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaf)
-
ใบประกอบแบบมือ (palmately compound leaf)

ภาพที่4 การเรียงตัวของเส้นใบ

การเรียงตัวของเส้นใบ (venation) มี 3 แบบ คือ

1. เส้นใบเรียงขนาน
เส้นใบเรียงขนานกัน (parallel venation)เส้นใบจะเรียงขนานกันตั้งแต่ฐานจนถึงปลายใบ พบในใบพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
เส้นใบเรียงขนานคล้ายฝ่ามือ (palmately parallel venation) เป็นการเรียงของเส้นใบจากฐานใบขนานไปเรื่อยจนจดปลายใบ
เส้นใบเรียงขนานคล้ายขนนก (pinnately parallel venation) เป็นการเรียงของเส้นใบที่แตกจากเส้นกลางใบแล้วขนานกันไปจนจดขอบใบ

2. เส้นใบเรียงแบบร่างแห
เส้นใบเรียงแบบร่างแห (netted venation หรือ reticulate venation) มีการแตกแขนงของเส้นใบย่อยออกไปทุกทิศทางแล้วมาประสานกันเป็นร่างแห พบในใบพืชใบเลี้ยงคู่ แบ่งเป็น
เส้นใบเรียงแบบร่างแหคล้ายฝ่ามือ (palmately netted venation) มีเส้นใบใหญ่มากกว่า 1 เส้น แตกเรียงขนานจากฐานไปสู่ปลายใบ แล้วมีเส้นใบย่อยแตกแขนง
เส้นใบเรียงแบบร่างแหคล้ายขนนก (pinnately netted venation) มีเส้นกลางใบ 1 เส้นแตกจากฐานใบไปสู่ปลายใบ แล้วมีเส้นใบย่อยแตกเป็นร่างแห

3. เส้นใบเรียงแบบไดโคโตมัส
เส้นใบเรียงแบบไดโคโตมัส (dichotomous venation) เส้นใบจะเรียงขนาน แต่ปลายสุดของเส้นใบแตกเป็น 2 แฉก

หน้าที่ของใบ

ใบ ของพืชมีหน้าที่ ดังนี้

  • 1. ปรุงอาหาร หรือกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งจะเกิดเฉพาะ ในเวลากลางวัน และเกิดที่ใบเป็นส่วนใหญ่ ที่ลำต้น หรือส่วนประกอบอื่นที่มีสีเขียว ก็สามารถปรุงอาหารได้
  • 2. หายใจ พืชจำเป็นต้องมีการหายใจตลอดเวลาเช่นเดียวกับสัตว์ ในเวลากลางวัน พืชจะหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป และปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาเมื่อเราเข้าไปในป่า หรือนั่งใต้ต้นไม้ในเวลากลางวันจึงรู้สึกสดชื่น เนื่องจากได้รับอากาศ บริสุทธิ์จากต้นไม้
  • 3. คายน้ำ การคายน้ำเป็นการปรับอุณหภูมิภายในต้นพืชไม่ให้สูงมาก ในวันที่มีอากาศร้อนพืชจะคายน้ำมากกว่าวันที่อากาศปกติ

ภาพที่5 การหายใจของพืช

พืชบางชนิดมีก้านใบพองโตเป็นทุ่นช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้ เช่น ผักตบชวา
พืชที่มีลำต้นเลื้อยพันสิ่งที่อยู่ใกล้ จะมีใบที่เปลี่ยนไปเป็นมือยึดเกาะและพยุงลำต้น เช่น ดองดึง ถั่วลันเตา ใบของพืชบางชนิดเปลี่ยนไปเป็นถุงดักจับแมลงหรือสัตว์เล็กๆ ภายในจะมีต่อมสร้างเอนไซม์ย่อยโปรตีน เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง
กาบหอยแครง

ภาพที่5 กาบหอยแครง




โดย ครู วัชวัลย์ ครุฑไชยันต์
ครู คศ.3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น