ต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland )
รูปที่ 3-7 แสดงตำแหน่งของไทรอยด์

ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) ต่อมไทรอยด์เเป็นต่อมที่อยู่บริเวณคอ เป็นต่อมไร้ท่อมีขนาดใหญ่ที่สุด มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากที่สุด มีลักษณะเป็น พู 2 พู ซ้ายและขวา หน้าหลอดลมใต้กล่องเสียงบริเวณลูกกระเดือก โดยมีต่อมพาราไทรอยด์อยู่บนต่อมไทรอยด์ข้างละ 2 ต่อม

ต่อมนี้สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ

1.ฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxin) หรือ T4 สร้างมาจากกลุ่มเซลล์ของไทรอยด์ฟอลลิเคิล

(thyroid follicle) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์กลม ๆ มีความหนาชั้นเดียวและมีช่องกลวงตอนกลาง

ไทรอยด์ฟอลลิเคิล สามารถจับไอโอดีนที่มีปริมาณต่ำมาก ๆ ในกระแสโลหิตได้อย่างน่าอัศจรรย์ กล่าวคือ สามารถสะสมไอโอดีนไว้ได้มากกว่าในเลือดถึง 20 เท่า หรือมากกว่าและมีนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการค้นพบว่า ไอโอดีนจำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมนไทรอกซิน

หน้าที่ของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์

1. ควบคุมเมแทบอลิซึมของร่างกาย เร่งการหายใจ ควบคุมการเผาผลาญสาร

อาหารต่าง ๆ ในร่างกายจึงมีผลต่อพลังงาน และอุณหภูมิของร่างกายอย่างมาก

2.ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย จำเป็นต่อการเจริญและพัฒนาของสมอง

3.กระตุ้นทำให้เกิดกระบวนการ เมตามอร์โฟซิส ( metamorphosis) คือ

การเปลี่ยนแปลงรูปร่างขณะเจริญเติบโตของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ และ ซาลามานเดอร์ ถ้าขาดหรือน้อยไป จะไม่เจริญเป็นตัวเต็มวัย

ความผิดปกติในภาวะที่ร่างกายขาดฮอร์โมนไทรอกซิน (hypothyroidism)

1. ในเด็กจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง สติปัญญาไม่ดี อวัยวะเพศไม่เจริญ ร่างกายเตี้ยแคระเรียกกลุ่มอาการนี้ว่าCretinism
2. ในผู้ใหญ่จะมีอาการเหนื่อยง่าย ซึม อ้วนง่าย ผมและผิวหนังแห้ง ความจำเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉื่อยชา เรียกกลุ่ม อาการนี้ว่า Myxedema


  • การขาดธาตุไอโอดีน มีผลทำให้ต่อมไทรอยด์ ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอกซินได้ ส่งผลให้เป็น โรคคอพอก (Simple goiter หรือ endemic goiter) เพราะเมื่อร่างกายขาดไทรอกซินจะมีผลให้ Hypotalamus หลั่งสารเคมีมา กระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้า ให้หลั่งฮอร์โมน TSH ส่งมาที่ต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ เมื่อต่อมถูกกระตุ้นจึงมีขนาดขยายโตขึ้น
  • ความผิดปกติในภาวะที่ร่างกายสร้างฮอร์โมนไทรอกซินมากเกินไป (hyperthyroidism)

  • 1. จะทำให้เกิดโรค Grave’s disease
  • 2. ในเด็กจะมีอาการตัวสั่น ตกใจง่าย แต่คอไม่พอก
  • 3. ในผู้ใหญ่จะเกิดอาการ**คอพอกเป็นพิษ (toxin goiter หรือ exophthalmic goiter )

ต่อมมีขนาดใหญ่ มีฮอร์โมนมาก อัตราเมแทบอลิซึมสูงนานไปจะมีการสะสมสารเคมี บางชนิดใน เบ้าตา ทำให้ ตาโปน

รูปที่ 3-8 แสดงลักษณะของผู้ที่ต่อมไทรอยด์ผลิตไทรอกซินผิดปกติ
ที่มา : สมาน แก้ไวยุทธ. ชีววิทยา เล่ม 3, ม.ป.ป. : 266

2. ฮอร์โมนคัลซิโตนิน (Calcitonin) เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ลดระดับของแคลเซียมในเลือดที่สูงเกินปกติให้เข้าสู่ระดับปกติ โดยดึงส่วนที่เกินนั้นไปไว้ที่กระดูก ดังนั้นระดับแคลเซียมในเลือดจึงเป็นตัวควบคุมการหลั่งฮอร์โมน ฮอร์โมนนี้จะทำงานร่วมกับต่อมพาราไทรอยด์และวิตามิน

  • รู้ไว้ใช่ว่า

1. ปี พ.ศ. 2426 ศัลยแพทย์ชาวสวิส ชื่อ อี คอกเคอร์ (E. Kocker) พบว่าหลังผ่าตัด

ต่อมไทรอยด์ คนไข้มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง บวม สมองเสื่อม สัตว์เตี้ยแคระ

2. ปี พ.ศ. 2438 นักวิทยาศาสตร์ ชื่อ แมกนัส เลวี (Magnus Levy) บดต่อม ไทรอยด์แห้งของแกะให้คนปกติกิน พบว่าอัตราเมแทบอลิซึมสูงขึ้น และใช้รักษาคนไข้ โดยกินต่อมไทรอยด์แกะบด

  • ความรู้เพิ่มเติม

1.เซลล์ของต่อมไทรอยด์ที่สร้างฮอร์โมนไทรอกซิน จะมีลักษณะเป็นเซลล์

รูปทรงกระบอก (Columnar cell) เรียกว่า ไทรอยด์ฟอลลิเคิล

2.เซลล์ที่หมดหน้าที่ ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอกซิน จะมีลักษณะเป็น

เซลล์สี่เหลี่ยมจัตุรัส (Cuboidal cell)

3.เซลล์ซี (C - cell) หรือ เซลล์พาราฟอลลิคิวลาร์ ( Parafollicular cell) เป็นกลุ่ม

เซลล์ที่อยู่ข้างเคียงไทรอยด์ฟอลลิเคิลในต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน

แคลซิโทนิน (Calcitonin)



โดย ครู วัชวัลย์ ครุฑไชยันต์
ครู คศ.3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฝึกภาษาอังกฤษบน LINE ฟรี

เพิ่มเพื่อน