ต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไต (Adrenal gland)

รูปที่ 3-16 แสดงตำแหน่งของต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไต เป็นต่อมไร้ท่อรูปร่างคล้ายผลองุ่น อยู่ตรงส่วนบนของไต (คล้ายหมวกที่ครอบอยู่เหนือยอดไต) ทั้งสองข้าง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนแกน (medulla) กับส่วนนอก (cortex)

ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไต(adrenal gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่เหนือไตทั้งสองข้าง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ต่อมหมวกไตแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. adrenal cortex หรือต่อมหมวกไตชั้นนอก ผลิตฮอร์โมนได้มากกว่า 50 ชนิด ภายใต้

การควบคุมของ ACTH จากต่อมใต้สมองตอนหน้า ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้น มีสมบัติเป็นสเตอรอยด์ (steroid) แบ่งฮอร์โมนเป็น 3 กลุ่มที่สำคัญ คือ
1.1 Glucocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยน glycogen ในตับและกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส ( ทำหน้าที่เหมือนกลูคากอนจากตับอ่อน) ในวงการแพทย์ใช้เป็นยาลดการอักเสบและรักษาโรคภูมิแพ้ ฮอร์โมนกลุ่มนี้คือ cortisol และ cortisone ( ในภาวะตึงเครียดถ้ามีการหลั่ง cortisol มากทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้)
ถ้ามีฮอร์โมนกลุ่มนี้มากเกินไปจะทำให้อ้วน อ่อนแอ ( ไขมัน พอกตามตัว ) หน้ากลม คล้ายดวงจันทร์ หน้าท้องลาย น้ำตาลในเลือดสูงเช่นเดียวกับคนเป็นโรคเบาหวาน เรียกว่าโรคคูชชิง ( Cushing’s syndrome)

1.2 Mineralocorticoid hormone ทำหน้าที่ ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ฮอร์โมนสำคัญกลุ่มนี้ คือ aldosterone ช่วยในการทำงานของไตในการดูดกลับ Na และ Cl ภายในท่อตับ ถ้าขาด aldosterone จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและโซเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะ ส่งผลให้เลือดในร่างกายลดลงจนอาจทำให้ผู้ป่วยตายเพราะความดันเลือดต่ำ

1.3 Adrenal sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยกระตุ้นให้มีลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ ทั้งชายและหญิง (secondeary sexual characteristics) ในเด็กผู้หญิงพบว่า ถ้ามีฮอร์โมนเพศมากเกินไป จะมีขนาด clitoris โต และมีอวัยวะที่ labium คล้ายๆ ถุงอัณฑะ ถ้าเป็นผู้หญิงที่โตเป็น สาวแล้ว จะมีผลทำให้เสียงต่ำและมีหนวดเกิดขึ้น ประจำเดือนหยุดเรียกลักษณะนี้ว่า Adrenogentital sysdrome ถ้า adrenal cortex ถูกทำลายจะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนทำให้เป็นโรค Addison’s disease ผู้ที่เป็นโรคนี้ร่างกายจะซูบผอม ผิวหนังตกกระ ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุได้

2. Adrenal medulla เป็นเนื้อชั้นในของต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของsympathetic (ไม่มี parasympathetic) ถูกกระตุ้นในขณะตกใจ เครียด กลัว โกรธ เนื้อเยื่อชั้นนี้ จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด
2.1 Adrenalin hormone หรือ Epinephrine hormone กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง ( ความดันเลือดสูง ) เส้นเลือดขยายตัวเปลี่ยน glycogen ในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด ทำให้มีพลังงานมากในขณะหลั่งออกมา (adrenalin ใช้ในการห้ามเลือดได้เพราะทำให้เลือดเป็นลิ่ม ๆ)
2.2 Noradrenalin hormone หรือ Norepinephrine hormone กระตุ้นให้เส้นเลือดมีการบีบตัว ( ความดันเลือดสูง ) ผลอื่นๆคล้าย adrenalin แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า

ในสภาพปกติ อะดรีนัลเมดัลลาจะหลั่งฮอร์โมนนอร์อะดรินาลินออกมามากกว่าอะดรินาลิน แต่ในกรณีที่ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรุนแรง เช่น โกรธ กลัว หรือตกใจจะมีการหลั่งฮอร์โมนทั้งสองชนิด ซึ่งการหลั่งอะดรีนาลินออกมาในขณะนั้น มีส่วนช่วยให้สิ่งมีชีวิตสามารถเผชิญกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างที่เราจะเห็นกันก็คือ เวลาที่ไฟไหม้บ้านคนเราสามารถแบกยกของหนักๆได้ ทั้งที่ภาวะปกติไม่สามารถทำได้

รูปที่ 3-17 แสดงการทำงานของต่อไร้ท่อและระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของต่อมหมวกไตเมื่อมีเหตุการณ์ตึงเครียดเป็นสิ่งเร้า

ที่มา : ครูมือครู ,สสวท, 2547 : 82

การตอบสนองอย่างรวดเร็ว

1. กลูโคสถูกสลายทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

2. ความดันเลือดเพิ่ม

3. อัตราการหายใจ

4. อัตราเมแทบอลิซึม

5. ทำให้ตื่นเต้น ลดการย่อยอาหารและการทำงานของไต

การตอบสนองที่คงที่อยู่เป็นถาวร

1. ไตดูดซึมโซเดียมไอออนและน้ำเข้าสู่หลอดเลือด

2. เพิ่มปริมาตรและความดันเลือด

3. เปลี่ยนโปรตีนและไขมันเป็นน้ำตาลซึ่งจะนำไปใช้ในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด

4. อัตราแมแทบอลิซึมเพิ่มขึ้น

5. ทำให้ตื่นเต้น ลดการย่อยอาหารและการทำงานของไต



โดย ครู วัชวัลย์ ครุฑไชยันต์
ครู คศ.3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฝึกภาษาอังกฤษบน LINE ฟรี

เพิ่มเพื่อน