ต่อมเพศ (gonad gland)
อวัยวะสืบพันธุ์เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง ฮอร์โมนที่สร้างจึงเป็นพวกสารสเตอรอยด์ (steroid hormone) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
2. ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
1. ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
ฮอร์โมนเพศชายสร้างมาจากอัณฑะ (testis) ภายในอัณฑะมีกลุ่มเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน คือ อินเตอร์สติเชียลเซลล์ออฟเลย์ติก อยู่ระหว่างหลอดสร้างอสุจิ เมื่อเซลล์นี้ถูกกระตุ้นโดย ICSH หรือLH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า จะสร้างฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่า แอนโดรเจน (androgen) ตัวที่สำคัญที่สุด คือ เทสโทสเตอโรน (testosterone) มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ และควบคุมลักษณะชั้นที่สองของเพศชาย ซึ่งได้แก่ การมีเสียงแตก นมขึ้นพาน มีหนวดเครา มีขนที่อวัยวะเพศ มีความต้องการทางเพศ มีผลในการกระตุ้นให้มีการสร้างโปรตีนมากขึ้น และเกิดการสะสมของโปรตีนในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังมีผลร่วมกับโกนาโดโทรฟิน (LH และ FSH) จากต่อมใต้สมองในการกระตุ้นการสร้างอสุจิของหลอดสร้างอสุจิ
2. ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
ฮอร์โมนเพศหญิงสร้างมาจากรังไข่ (ovary) ซึ่งมีฮอร์โมนที่สำคัญดังนี้
1. อิสโทรเจน (estrogen) สร้างมาจากเนื้อเยื่อขอบนอกของแกรเฟียนฟอลลอเคิลที่เรียกว่า ทีกาอินเทอร์นา (theca interna) ฮอร์โมนนี้มีหน้าที่กระตุ้นและควบคุมลักษณะขั้นที่สองของเพศหญิง โดยกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมเจริญเติบโตขึ้น กระตุ้นการเจริญของอวัยวะเพศ กระตุ้นมดลูก ท่อนำไข่ การเกิดขนที่อวัยวะเพศ ควบคุมการมีประจำเดือนร่วมกับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน เมื่อปริมาณ อิสโทรเจนสูงขึ้น จะมีผลให้ LH สูงขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการตกไข่
2. โพรเจสเทอโรน (progesterone) โพรเจสเทอโรน สร้างมาจากคอร์พัสลูเทียม
(corpus luteum) ของรังไข่ เมื่อไข่ตกแล้ว ผนังของฟอลิเคิลที่ไข่ตกจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อ
สีเหลือง โดยการกระตุ้นของ LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า เนื้อเยื่อสีเหลืองคือ คอร์พัสลูเทียม ฮอร์โมนนี้มีผลในการกระตุ้นผนังในมดลูกให้หนาขึ้น(ร่วมกับอิสโทรเจน) เพื่อเตรียมพร้อมในการฝังตัวของไข่ซึ่งได้รับการผสมแล้ว มีผลในการห้ามการมีประจำเดือน ห้ามการตกไข่ และกระตุ้นการเจริญของต่อมน้ำนมด้วย ถ้าหากไข่ที่ตกไม่ได้รับการผสม คอร์พัสลูเทียมจะค่อย ๆ สลายไป
โพรเจสเทอโรนจะลดต่ำลง จึงไม่มีฮอร์โมนไปกระตุ้นมดลูกอีก ทำให้ผนังมดลูกสลายและหลุดออกมาเป็นประจำเดือน
รูปที่ 3-18 แสดงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนฟอลลิเคิล และผนังมดลูกในช่วงต่างๆ ของรอบประจำเดือน
ที่มา : สสวท.,ชีววิทยา เล่ม 3 : 90
ต่อมไทมัส (Thymus gland)
รูปที่ 3-19 แสดงตำแหน่งของต่อมไทมัส
ต่อมไทมัส (thymus gland) มีลักษณะเป็นพู มีตำแหน่งอยู่ระหว่างกระดูกอกกับหลอดเลือดใหญ่ของหัวใจ มีหน้าที่ สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ ชนิด ที หรือ เซลล์ ที (T - cell ) การแบ่งเซลล์และพัฒนาการของ ลิมโฟไซต์ชนิดที อาศัยฮอร์โมนไทโมซิน (thymosin) ซึ่งสร้างจากเซลล์บางส่วนของต่อมไทมัส ดังนั้นไทโมซินจึงเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
กระเพาะอาหาร (stomach)
กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อจากหลอดอาหาร อยู่บริเวณด้านบนซ้ายของช่องท้อง ถัดจากกระบังลมลงมามีความยาวประมาณ 10 นิ้ว กว้าง 5 นิ้ว จึงถือว่าเป็นส่วนของทางเดินอาหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ
1. ส่วนบนสุด หรือส่วนใกล้หัวใจ (Cardiac Region หรือ Cardium) อยู่ต่อจากหลอดอาหาร มีกล้ามเนื้อหูรูด (Cardiac Sphincter)
2. ฟันดัส (Fundus) เป็นส่วนที่ 2 มีลักษณะเป็นกระพุ้ง
3. ไพโลรัส (Pylorus) เป็นส่วนปลายที่ติดต่อกับลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่แคบกว่าส่วนอื่นๆ ตอนปลายของกระเพาะอาหารส่วนนี้มีกล้ามเนื้อหูรูด เรียกว่า ไพโลริด สฟิงก์เตอร์ (Pyloric Sphincter) ป้องกันมิให้อาหารเคลื่อนเลยกระเพาะอาหารขณะย่อย กระเพาะอาหารมีกล้ามเนื้อหนาแข็งแรงมาก และยืดหยุ่นขยายขนาดบรรจุได้ถึง 1000-2000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
รูปที่ 3-20 แสดงส่วนโครงสร้างของกระเพาะอาหาร
ลำไส้เล็ก (Small Intestine)
ลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของทางเดินอาหาร ต่อมาจากกระเพาะอาหาร มีความยาวประมาณ 7 - 8 เมตร ผนังด้านในของลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นลอนตามขวาง มีส่วนยื่นเล็ก ๆ มากมายเป็นตุ่ม เรียกว่า วิลลัส (Villus พหูพจน์เรียกว่า Villi) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กจะมีการหลั่งฮอร์โมน โดยการทำงานร่วมกับต่อมไทมัส และฮอร์โมนที่หลั่งออกมาก็คือ แกสตริน และ ซีคริทิน
รูป แสดงส่วนประกอบภายในลำไส้เล็ก
ที่มา : Lee Khee Boon , Chuen Wee Hong : 83
ดีมาก คนแรก555+
ตอบลบต่อมเพศ กับต่อมไทมัส แตกต่างกันอย่างไร
ตอบลบคะ
ช่วยหน่อยค่ะ
จาก เฟิร์น
มีคำอธิบาย ต่อมเพศหญิงอีกมั้ยคะ ต้องทำรายงานอ่ะค่ะ
ตอบลบ