กล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อ

  • ร่างกายแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle or striated muscle) กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) โดยที่กล้ามเนื้อลายนั้นถูกควบคุมอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจหรือรีเฟล็กซ์ ส่วนกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจ

  • 1. กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeleton muscle)



รูปที่ 1-29 กล้ามเนื้อลาย

ที่มา : http://search.sanook.com/knowledge/enc_preview.php?id=1405l

เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะติดกับโครงกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา จึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง เมื่อนำเซลล์กล้ามเนื้อเหล่านี้มาศึกษาด้วย กล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์ มีหลายนิวเคลียส การทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกถูกควบคุมโดยระบบประสาท โซมาติก การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ร่างกายสามารถบังคับได้ซึ่งถือว่าอยู่ในอำนาจจิตใจ

  • 2.กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)

รูปที่ 1-30 กล้ามเนื้อหัวใจ

ที่มา : http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?p=33130

เซลล์มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก แต่สั้นกว่าเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกและเห็นเป็นลายเช่นเดียวกัน แต่ตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง และเชื่อมโยงติดต่อกับเซลล์ข้างเคียง การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจถูกควบคุม โดยระบบประสาทอัตโนวัติ ดังนั้นร่างกายไม่สามารถบังคับได้ จึงเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ



  • 3.กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle)




รูปที่ 1-31 กล้ามเนื้อเรียบ

ที่มา : http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?p=33130

กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายในเช่นผนังกระเพาะอาหาร ผนังลำไส้ ผนังหลอดเลือด และม่านตา เป็นต้น กล้ามเนื้อเหล่านี้ ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาว หัวท้ายแหลม แต่ละเซลล์มี 1 นิวเคลียส ไม่มีลายพาดขวาง การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติ


รูปที่ 1-32 เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบที่อวัยวะต่าง ๆ

ที่มา : http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?p=33130

  • การทำงานของกล้ามเนื้อ

เมื่อสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงานประสานเป็นคู่ ๆ พร้อมกัน แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า Antagonistic muscle

มัดกล้ามเนื้อไบเซพ (Biceps) อยู่ด้านบน และไตรเซพ (Triceps) อยู่ด้านล่างของแขน

ไบเซพ หรือ (Flexors) คลายตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) หดตัว

ไบเซพหรือ (Flexors) หดตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) คลายตัว



รูปที่ 1-33 แสดงการทำงานของกล้ามเนื้อไบเซพ (bicep) หรือ (Flexors)

และกล้ามเนื้อไตรเซพ (tricep) หรือ (Extensors)

ที่มา : จักรชัย วรรณาศรี. Powerpoint : สไลด์ที่ 110 : 111



โดย ครู วัชวัลย์ ครุฑไชยันต์
ครู คศ.3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ31 มีนาคม 2555 เวลา 07:53

    รูปที่1-33แสดงกล้ามเนื้อHamstringหดตัวขณะงอเข่า และQuadricepหดตัวในขณะเหยียดเข่า ตรวจสอบอีกทีน่ะค่ะ

    ตอบลบ

ฝึกภาษาอังกฤษบน LINE ฟรี

เพิ่มเพื่อน