การเคลื่อนที่ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง

  • การเคลื่อนที่ของโลมาและวาฬ

โลมาและวาฬมีขนาดใหญ่กว่าปลาทั่ว ๆ ไปมากและมีรูปร่างเพรียวเหมือนปลา มีส่วนกระดูกคอสั้น ทำให้กลมกลืนระหว่างลำตัวกับหัว ขาคู่หน้าเปลี่ยนไปเป็นครีบ ช่วยในการว่ายน้ำ และขาคู่หลังก็หดหายไป แต่มีหางที่แบนขนาดใหญ่ขนานกับพื้น การเคลื่อนที่ใช้การตวัดหาง และใช้ครีบหน้าช่วยในการพยุงตัว ทำให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี





  • สัตว์กลุ่มนี้จะมีขาคู่หน้าที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะเป็นพาย เรียกว่า ฟลิปเปอร์ ( flipper ) ช่วยในการโบกพัดร่วมกับส่วนประกอบอื่นของร่างกาย ทำให้มันเคลื่อนที่ไปในน้ำเป็นอย่างดี


  • สัตว์กลุ่มนี้จะมีขาคู่หน้าที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะเป็นพาย เรียกว่า ฟลิปเปอร์ ( flipper ) ช่วยในการโบกพัดร่วมกับส่วนประกอบอื่นของร่างกาย ทำให้มันเคลื่อนที่ไปในน้ำเป็นอย่างดี



  • การเคลื่อนที่ของกบและเป็ดในน้ำ

กบและเป็ดขณะที่เคลื่อนไหวในน้ำ จะใช้โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ยึดติดอยู่ระหว่างนิ้วเท้าช่วยโบกพัดน้ำทำให้ลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าได้เรียกว่า web ถ้าเป็นการกระโดดของกบจะใช้ขาหลังทั้งสองในการดีดตัวไปข้างหน้า





รูปที่ 1-17 รูปกบและเป็ด แสดงบริเวณนิ้วเท้าของกบและเป็ดจะมี web

การเคลื่อนที่ของนก

นกมีกระดูกที่กลวง ทำให้ตัวเบา และอัดตัวกันแน่น ทำให้นกมีขนาดเล็ก และ

รูปร่างเพรียวลมจึงเคลื่อนตัวไปในอากาศได้ดี

  • นกมีกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขยับปีกที่แข็งแรง

โดยกล้ามเนื้อนี้จะยึดอยู่ระหว่างโคนปีกกับกระดูกอก (keel or sternum) กล้ามเนื้อคู่หนึ่ง ทำหน้าที่ เป็น กล้ามเนื้อยกปีก (levater muscle) คือ กล้ามเนื้อเพกทอราลิสไมเนอร์ (pectorlis minor) และกล้ามเนื้ออีกคู่มีขนาดใหญ่มาก ทำหน้าที่ ในการหุบปีกลง (depresser muscle) คือ กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์ (pectorralis major)

การทำงานของกล้ามเนื้อคู่นี้มีลักษณะเป็นแอนทาโกนิซึมด้วย คือ ขณะที่นกกดปีกลง กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์จะหดตัว ส่วนเพกทอราลิสไมเนอร์จะคลายตัวขณะที่นกยกปีกขึ้นกล้ามเนื้อเพกทอราลิสไมเนอร์จะหดตัวขณะที่กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์จะคลายตัวสลับกันไป



รูปที่ 1-18 ภาพนกแสดงปีกขนที่ปีกและกล้ามเนื้อกดปีก

ที่มา : ประสงค์ หลำสะอาด. ม.ปป. : 17

  • นกมีถุงลม (air sac)

ถุงลมของนกเจริญดีมากและอยู่ติดกับปอด นอกจากนี้ยังแทรกเข้าไปในโครงกระดูกด้วย ในขณะที่นกหายใจเข้ากระดูกอกจะลดต่ำลงถุงลมขยายขนาดขึ้น อากาศจะไหลผ่านเข้าสู่หลอดลม เข้าสู่ปอดและเข้าสู่ถุงลมตอนท้าย ส่วนอากาศที่ถูกใช้แล้ว จะออกจากปอดเข้าสู่ถุงลมตอนหน้า ในขณะที่หายใจออก อากาศจากถุงลมตอนท้ายจะเข้าสู่ปอด ทำให้ปอดพองออกและอากาศจากถุงลมตอนหน้าถูกขับออกนอกร่างกายต่อไปอย่างนี้เสมอ การมีถุงลมของนกทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทอากาศให้แก่ปอดได้เป็นอย่างดี แต่ถุงลมทำหน้าที่ช่วยปอดเท่านั้นไม่ได้ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส การที่นกบินนกต้องใช้พลังงานจำนวนมาก จึงทำให้นกมีเมแทบอลิซึมสูงมาก นกจึงต้องกินมากและใช้ออกซิเจนมากด้วย

  • นกมีขน (feather)

ขนของนกบางและเบาช่วยในการอุ้มอากาศ ขนที่ปีกช่วยในการดันอากาศขณะหุบปีกลง ทำให้ตัวนกพุ่งไปข้างหน้า การเคลื่อนที่ของนกในอากาศจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับน้ำหนักของ ตัวนก ขนาดของปีก ความเร็วของการขยับปีกและกระแสลมในขณะที่นกเริ่มบินต้องใช้แรงอย่างมากแต่เมื่อลอยตัวอยู่ในอากาศแล้วก็ไม่ต้องใช้แรงมากนัก การบินของนกโดยทั่ว ๆ ไป มีดังนี้

1. นกกางปีกออกเต็มที่

2. นกจะโบกปีกลงทำให้ลำตัวนกเชิดขึ้น เนื่องจากเกิดแรงปะทะกับอากาศ ตัวนกจึงลอยขึ้นไปในอากาศได้

3. ปีกที่โบกลงนั้นจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ทำให้เกิดแรงปะทะกับอากาศเพิ่มมากขึ้น

4. เมื่อโบกปีกลงและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าแล้ว นกจะยกปีกขึ้น และสะบัดไปข้างหลังอย่างแรง ทำให้นกพุ่งไปข้างหน้ากระบวนการต่างๆ เกิดขึ้นเร็วมาก จึงทำให้นกบินได้อย่างรวดเร็ว

  • ในกรณีของสัตว์ที่มีขาสั้น เช่น จิ้งจก ตุ๊กแก การเคลื่อนที่อาศัยการก้าวขาที่ไม่พร้อมกัน ทำให้เกิดการโค้งไปโค้งมาของส่วนร่างกายเป็นรูปตัว S สำหรับงูไม่มีรยางค์หรือขา การเคลื่อนที่ก็อาศัยกล้ามเนื้อและโครงกระดูก หดตัวและเคลื่อนที่กลับไปกลับมา ที่เรียกว่า การเลื้อย



รูปที่ 1-20 แสดงการเคลื่อนที่รูปตัว S ของสัตว์เลื้อยคลาน

ที่มา : ประสงค์ หลำสะอาด. ม.ป.ป. : 21


โดย ครู วัชวัลย์ ครุฑไชยันต์
ครู คศ.3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ4 มกราคม 2556 เวลา 22:20

    ขอการเคลื่อนที่ของงูด้วยนะคะ
    ต้องการมากคะขอบคุณนะค่ะ

    ตอบลบ

ฝึกภาษาอังกฤษบน LINE ฟรี

เพิ่มเพื่อน