โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น


ลำต้น
ลำต้นเป็นโครงสร้างของพืชที่เจริญถัดขึ้นมาจากราก ลำต้นมีข้อปล้อง บริเวณข้อจะมีใบ ที่ซอกใบมีตา ลำต้นทำหน้าที่ชูกิ่ง ใบ ดอก ผล และทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร ธาตุอาหาร และน้ำ
12.1. เนื้อเยื่อบริเวณปลายยอด
เมื่อตัดตามยาวผ่านกลางส่วนปลายยอด แล้วนำไปศึกษาลักษณะเนื้อเยื่อโดยใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายต่างๆ จะเห็นเซลล์มีลักษณะขนาด รูปร่าง และการเรียงตัวเป็นบริเวณต่างๆ ดังนี้

รูปที่1- ปลายตัดตามยาวของต้นฤๅษีผสม
1. เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (apical meristem) เป็นบริเวณปลายสุดของลำต้น เซลล์บริเวณนี้จะแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา
2. ใบเริ่มเกิด (leaf primordium) อยู่ตรงด้านข้างของปลายยอดส่วนที่เป็นขอบของความโค้ง ถ้าพืชตัวอย่างที่ศึกษามีใบแบบตรงข้ามกันจะเห็นใบเริ่มเกิดอยู่ 2 ข้าง ใบเริ่มเกิดนี้ต่อไปจะพัฒนาเป็นใบอ่อน ตรงโคนของใบเริ่มเกิดจะเห็นเซลล์ขนาดเล็กรูปร่างยาวเรียงตัวเป็นแนวยาวจากลำต้นขึ้นไปจนถึงใบอ่อน
3. ใบอ่อน (young leaf) เป็นใบที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เซลล์ของใบยังมีการแบ่งเซลล์ และเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงเซลล์ต่อไปอีกจนในที่สุดจะได้เป็นใบที่เจริญเต็มที่
4. ลำต้นอ่อน (young stem) อยู่ถัดจากตำแหน่งใบเริ่มเกิดลงมา ลำต้นส่วนใต้ใบอ่อนก็ยังเป็นลำต้นระยะที่ยังเจริญไม่เต็มที่ กล่าวคือ เซลล์บางบริเวณอาจพัฒนาไปจนเจริญเต็มที่ในระดับหนึ่งแล้ว แต่บางบริเวณยังแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวน และขยายขนาดต่อไปได้อีก
12.2 โครงสร้างภายในลำต้น
12.2.1 ลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่
เมื่อตัดลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่ที่ยังอ่อนอยู่ตามขวาง แล้วนำมาศึกษาจะพบลักษณะการเรียงตัวของลำต้นและรากคล้ายกันและลำต้นมีการเรียงตัว ดังนี้
1) เอพิเดอร์มิส ( Epidermis ) อยู่ชั้นนอกสุด ปกติเป็นเซลล์เรียงตัวชั้นเดียว ไม่มีคลอโรฟิลล์ อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นขน หนาม หรือเซลล์คุม ( Guard Cell ) ผิวด้านนอกของ
เอพิ-ดอร์มิสมักมีสารพวกคิวทิน เคลือบอยู่เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ
2) คอร์เทกซ์ ( Cortex ) มีอาณาเขตแคบกว่าในรากเซลล์ ส่วนนี้ส่วนใหญ่เป็นเซลล์พาเรงคิมาเรียงตัวกันหลายชั้น เซลล์พวกนี้มักมีสีเขียวและสังเคราะห์ด้วยแสงได้ด้วย นอกจากนี้ยังช่วยสะสมน้ำและอาหารให้แก่พืช เซลล์ชั้นคอร์เทกซ์ที่อยู่ติดกับเอพิเดอร์มิสเป็นเซลล์เล็กๆ 2-3 แถว คือ เซลล์พวกคอลเลงคิมา และมีเซลล์สเกลอเรงคิมาแทรกอยู่ช่วยให้ลำต้นแข็งแรงขึ้น การแตกกิ่งของพืชจะแตกในชั้นนี้เรียกว่า เอกโซจีนัสบรานชิ่ง ( Exogenous branching )ซึ่งแตกต่างจากรากซึ่งเป็นเอนโดจีนัสบรานชิ่ง ชั้นในของคอร์เทกซ์คือ เอนโดเดอร์มิสเป็นเซลล์เรียงตัวชั้นเดียวในลำต้น พืชส่วนใหญ่มักเห็นชั้นเอนโดเดอร์มิสได้ไม่ชัดเจนหรือไม่เห็นเลยซึ่งแตกต่างจากรากซึ่งมีและเห็นชัดเจน เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการหลั่งสาร ( Secretory Cell ) เช่น เรซิน ( Resin ) น้ายาง ( Latex ) ก็อยู่ในชั้นนี้
3) สตีล ( Stele ) ในลำต้นฃั้นสองของสตีลจะแคบมากและแบ่งออกจากชั้นของคอร์เทกซ์ได้ไม่ชัดเจนนัก และแตกต่างจากในราก ประกอบด้วย
3.1 มัดท่อลำเลียง อยู่เป็นกลุ่มๆ ด้านในเป็นไซเลม ด้านนอกเป็นโฟลเอ็มเรียงตัวในแนวรัศมีเดียวกัน
3.2 วาสคิวลาร์เรย์ เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่อยู่ระหว่างมัดท่อลำเลียง เชื่อมต่อระหว่างคอร์เทกซ์และพิธ
3.3 พิธ อยู่ชั้นในสุดเป็นไส้ในของลำต้นประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิมา ทำหน้าที่สะสมแป้งหรือสารต่างๆ เช่น ผลึกแทนนิน ( Tannin ) พิธที่แทรกอยู่ในมัดท่อลำเลียงจะดูดคล้ายรัศมี เรียกว่า พิธเรย์ ( Pith Ray ) ทำหน้าที่สะสมอาหาร ช่วยลำเลียงน้ำ เกลือแร่ และอาหารไปทางด้านข้างของลำต้น
รูปที่2- วาสคิวลาร์แคมเบียมเซลล์สองชนิด เปลือกไม้และเนื้อไม้
ที่มา : คู่มือการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติมชีววิทยา ม.5 เล่ม3-4 หน้า 355


12.2.2 ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตขั้นต้น ( Primary Growth ) เท่านั้น มีชั้นต่างๆเช่นเดียวกับพืชใบเลี้ยงคู่ต่างกันที่มัดท่อลำเลียงรวมกันเป็นกลุ่มๆประกอบด้วยเซลล์ค่อนข้างกลมขนาดใหญ่ 2 เซลล์ ซึ่งได้แก่ไซเลมและเซลล์เล็กๆ ด้านบนคือโฟลเอ็ม ส่วนทางด้านล่างของไซเลมเป็นช่องกลมๆ เช่นกันคือช่องอากาศมัดท่อลำเลียงของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีบันเดิลชีท
( Bundle Sheath ) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อพวกพาเรงคิมาที่มีแป้งสะสมหรืออาจเป็นเนื้อเยื่อสเกลอเรงคิมามาหุ้มล้อมรอบเอาไว้ กลุ่มของมัดท่อลำเลียงจะกระจายทุกส่วนของลำต้น แต่มักอยู่รอบนอกมากว่ารอบในและมัดท่อลำเลียงไม่มีเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างหรือแคมเบียมคั่นอยู่ พืชพวกนี้จึงเจริญเติบโตด้านข้างจำกัด แต่มักจะสูงขึ้นได้มาก เนื่องจากพืชใบเลี้ยเดี่ยวมีเนื้อเยื่อเจริญบริเวณข้อทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น ในพืชบางชนิดส่วนของพืชจะสลายไปกลายเป็นช่องกลวงอยู่กลางลำต้น เรียกว่า
ช่องพิธ ( Pith Cavity )เช่น ในลำต้นของไผ่ หญ้า เป็นต้น
ในพืชพวกหมากผู้หมากเมีย และจันทน์ผา จะมีมัดท่อลำเลียงคล้ายพืชใบเลี้ยงคู่และมีแคมเบียมด้วยทำให้เจริญเติบโดทางด้านข้างได้และยังสามารถสร้างคอร์กขึ้นได้เมื่อมีอายุมากขึ้น



รูปที่3-ภาพ โครงสร้างภาคตัดขวางของลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่
ภาพซ้าย ภาคตัดขวางลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่
ภาพขวา ภาคตัดขวางลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ตารางแสดงความแตกต่างระหว่างลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่กับลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่
1. มีข้อและปล้องเห็นได้ชัดเจน
2. ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา
3.มัดท่อน้ำท่ออาหารกระจายไปทั่วลำต้น
4. ส่วนมากไม่มีแคมเบียม
5. ส่วนมากไม่มีการเจริญขั้นที่สอง
6. ส่วนมากไม่มีวงปี
7. โฟลเอ็มและไซเลมมีอายุการในการทำงาน
1. เห็นได้ไม่ชัดเจนนัก
2. มีกิ่งก้านสาขามาก
3. มัดท่อน้ำท่ออาหารเรียงตัวเป็นวงรอบลำต้น
4. ส่วนมากมีแคมเบียม นอกจากพืชล้มลุกบางชนิดไม่มี
5. ส่วนมากมีการเจริญขั้นที่สองและเจริญไปเรื่อยๆสัมพันธ์กับความสูง
6. ส่วนมากมีวงปี
7. โฟลเอ็มและไซเลมมีอายุการทำงานสั้น แต่จะมีการสร้างขึ้นมาทดแทนอยู่เรื่อยๆโดยแคมเบียม
การเจริญเติบโตขั้นที่สองของลำต้นใบเลียงคู่
พืชใบเลี้ยงคู่ที่มีเนื้อไม้เป็นการเจริญเติบโตเพื่อขยายขนาดทางด้านข้างจะมีวาสคิวลาร์แคมเบียมเกิดขึ้นตรงแนวระหว่างไซเลม และโฟลเอ็มของการเจริญเติบโตขั้นแรก
วาสคิวลาร์แคมเบียม จะแบ่งเซลล์สร้างเนื้อเยื่อไซเลมขั้นที่สองเพิ่มขึ้นทางด้านในและสร้างเนื้อเยื่อโฟลเอ็มขั้นที่สองเพิ่มขึ้นทางด้านนอก การแบ่งเซลล์ได้ไซเลมขั้นที่สองจะเกิดขึ้นเร็วกว่าการเกิดโฟลเอ็มขั้นที่สอง ในพืชส่วนมากโฟลเอ็มขั้นแรกทางด้านนอกจะถูกโฟลเอ็มขั้นที่สองที่สร้างขึ้นใหม่เบียดจนสลายไปหมด
ในรอบ 1 ปี วาสคิวลาร์แคมเบียมของพืชที่มีเนื้อไม้จะมีการแบ่งเซลล์สร้างไซเลมและโฟลเอ็มขั้นที่สองจำนวนมากน้อยต่างกันในแต่ละฤดูขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำและแร่ธาตุอาหาร ในฤดูที่สิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ดี เช่น ฤดูฝน เซลล์ชั้นไซเลมจะเจริญเร็วมีขนาดใหญ่ทำให้ได้ชั้นไซเลมกว้าง และมีสีจาง ส่วนในฤดูแล้งเซลล์ชั้นไซเลมจะเจริญช้ามีขนาดเล็กเบียดกันแน่นทำให้เห็นเป็นแถบแคบๆ และมีสีเข้ม ลักษณะดังกล่าวทำให้เนื้อไม้มีสีจางและมีสีเข้มสลับกันมองเห็นเป็นวงเรียกว่า วงปี (annual ring) ดังรูป





รูปที่4- ภาพโครงสร้างลำต้นที่มีการเจริญขั้นที่สอง
ไซเลมที่มีอายุมากที่สุดจะอยู่ชั้นในสุดของลำต้น ถ้าเป็นลำต้นที่มีอายุมากๆ ไซเลมชั้นในจะไม่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำอีกต่อไป แต่จะทำหน้าที่ให้ความแข็งแรง และอาจสะสมสารอินทรีย์ต่างๆ มักมองเห็นไซเลมบริเวณนี้มีสีเข้มเรียกไซเลมบริเวณนี้ว่า แก่นไม้ ( heart wood )ซึ่งจะมีความแข็งแรงมากกว่าบริเวณอื่น แก่นม้นี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไซเลมชั้นถัดออกมาที่มีอายุมากขึ้นและอุดตันกลายเป็นแก่นไม้เพิ่มขึ้น ส่วนไซเลมซึ่งอยู่รอบนอกซึ้งมีสีจางกว่าชั้นในก็ยังคงทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ และธาตุอาหารต่อไป เรียกชั้นนี้ว่า กระพี้ไม้ ( sap wood )ชั้นกระพี้ไม้จะมีความหนาค่อนข้างคงที่ ทั้งกระพี้ไม้และแก่นไม้รวมกันเรียกว่า เนื้อไม้ ( wood ) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อไซเลมทั้งหมด
เปลือกไม้
(
bark ) คือ ส่วนที่อยู่ถัดจากวาสคิวลาร์แคมเบียมออกไปข้างนอก ในลำต้นที่มีอายุน้อยเปลือกไม้ประกอบด้วย เอพิเดอร์มิส คอร์เทกซ์ และโฟลเอ็ม ส่วนลำต้นที่มีอายุมากเอพิเดอร์มิสหลุดสลายไปเหลือแต่เนื้อเยื่อคอร์ก ( cork ) และคอร์กแคมเบียม ( cork cambium ) และอาจมีเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่เกิดจากการแบ่งตัวของคอร์กแคมเบียม รวมทั้งโฟลเอ็มครั้งที่สองที่สร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงอาหารแทนโฟลเอ็มขั้นแรกที่ถูกเบียดสลายไป




รูปที่ 5- ภาพการเกิดเนื้อเยื่อคอร์ก
ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ทั่วๆไปมักจะไม่มีการเจริญเติบโตขั้นที่สอง ยกเว้นพืชบางชนิด เช่น หมากผู้หมากเมีย และจันทน์ผา
ชนิดของลำต้น
สามารถจำแนกลำต้นออกตามแหล่งที่อยู่ได้สองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ลำต้นเหนือดินและลำต้นใต้ดิน
ลำต้นเหนือดิน (aerial stem)
1) ต้นไม้ยืนต้น (tree) เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นหลักต้นเดียว จากนั้นจึงแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณยอด ลักษณะเนื้อแข็ง ลำต้นมีขนาดใหญ่ อายุยืนหลายปี
2) ต้นไม้พุ่ม (shrub) เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นหลักหลายต้น มักมีเนื้อไม้แข็งแต่มีขนาดเล็กว่าไม้ยืนต้น แตกกิ่งก้านสาขาใกล้บริเวณผิวดิน
3) ต้นไม้ล้มลุก (herb) เป็นต้นไม้ที่มีเนื้อไม้อ่อนหรือไม่มีเนื้อไม้ ส่วนใหญ่มีอายุปีเดียว บางชนิดอาจอยู่ได้สองปี เมื่อครบวัฏจักรชีวิตจะตายไป ไม้ล้มลุกบางชนิดที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน เมื่อส่วนที่อยู่เหนือดินตายส่วนที่อยู่ใต้ดินจะพักตัวอยู่และงอกในฤดูถัดไป






ไม้ยืนต้น







ไม้พุ่ม








ไม้ล้มลุก
1.จำแนกตามลักษณะของเนื้อไม้
1) ลำต้นที่มีเนื้อไม้ (woody stem) ได้แก่ ลำต้นของต้นไม้ประเภทไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม
2) ลำต้นที่ไม่มีเนื้อไม้ (herbaceous stem) ได้แก่ ลำต้นของต้นไม้ประเภท ไม้ล้มลุก
2. ลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่พิเศษ
1) ลำต้นเลื้อย (creeping stem หรือ prostate stem) เป็นลำต้นที่เลื้อยไปตามผิวดินหรือผิวน้ำและมีรากงอกออกมาจากบริเวณข้อแล้วแทงลงดินเพื่อช่วยยึดลำต้น นอกจากนี้บริวเณข้อจะมีตาเจริญเป็นลำต้นแขนงยาวขนานไปกับพื้นดินหรือผิวน้ำ ซึ่งจะงอกรากและลำต้นขึ้นใหม่ เรียกว่า ไหล (stolon หรือ runner) เช่น สตรอเบอรี ผักบุ้ง ผักตบชวา










รูปที่7 - ภาพ ลำต้นชนิดครีพพิง สเต็ม (creeping stem)

2) ลำต้นปีนป่าย (climbing stem) เป็นลำต้นที่เลื้อยหรือไต่ขึ้นที่สูง มีลำต้นอ่อน เป็นพวกไม้เถา (vine) ได้แก่
- ทไวเนอร์ (twiner) เป็นไม้เถาที่ปีนป่ายขึ้นที่สูงโดยใช้ลำต้นพันกับหลักเป็นเกลียว เช่น ถั่วฝักยาว บางชนิดลำต้นเปลี่ยนไปเป็นมือพัน (tendril) ยืดหดได้คล้ายลวดสปริง เช่น องุ่น









รูปที่ 8 ภาพ มือเกาะของต้นองุ่น
- รูตไคลม์เบอร์ (root climber) เป็นลำต้นที่ปีนป่ายขึ้นที่สูง โดยงอกรากออกจากข้อยึดติดกับหลักหรือต้นไม้ เช่น พลู พริกไทย











รูปที่ 9 ภาพ รากเกาะของพริกไทย
- ลำต้นหนาม (spine หรือ thorny stem) เป็นลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นหนามรวมทั้งขอเกี่ยวสำหรับปีนป่ายขึ้นที่สูงและป้องกันอันตราย เช่น ส้ม












รูปที่ 10 ภาพ ลำต้นหนามของต้นส้ม

- ฟีลโลเคลด (phylloclade) เป็นลำต้นที่มีลักษณะแบนจนกระทั่งคล้ายกับลักษณะของใบในพืชทั่ว ๆ ไป ลำต้นแบบนี้ปกติจะทำหน้าที่ของใบด้วย คือ สังเคราะห์แสง ดังนั้นพืชที่มีลำต้นแบบนี้จึงไม่มีใบหรือมีก็เล็กมาก เช่น ตะบองเพชร
- แคลโดฟีลล์ (cladophyll) หรือ แคลโดด (cladode) เป็นลำต้นที่เปลี่ยนไปมีลักษณะคล้ายใบเช่นเดียวกันกับฟีลโลเคลดแต่มักใช้กับกิ่งก้านที่เป็นเส้นเรียวเล็ก ทำหน้าที่แทนใบโดยมีสีเขียว สามารถสังเคราะห์แสงได้ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง สนปฏิพัทธ์
ลำต้นใต้ดิน (underground stem)
ลำต้นใต้ดินบางชนิดมักมีผู้เข้าใจผิดว่าเป็นราก ทั้งนี้เพราะลำต้นเหล่านี้ไม่มีคลอโรฟีลล์ มีรากเล็ก ๆ งอกออกมาซึ่งคล้ายกับรากแขนงที่แตกออกมาจากรากแก้ว การที่จะพิจารณาว่าลำต้นใต้ดินไม่ใช่รากสังเกตได้จากลำต้นเหล่านี้มีข้อและปล้องสั้น ๆ บางทีก็มีตาอยู่ตามข้อด้วย ลำต้นใต้ดินมีรูปร่างแตกต่างไปจากลำต้นเหนือดิน ส่วนใหญ่ทำหน้าที่สะสมอาหาร ได้แก่ ไรโซม ทูเบอร์ บัลบ์และคอร์ม
  • 1) ไรโซม (rhizome) เป็นลำต้นใต้ดินที่มักขนานไปกับผิวดิน มีข้อและปล้องสั้น ๆ ตามข้อมีใบเกล็ดสีน้ำตาลไม่มีคลอโรฟีลล์หุ้มตาไว้ ตาสามารถแตกแขนงเป็นลำต้นใต้ดินหรือลำต้นและใบชูขึ้นเหนือดิน มีรากงอกลงดิน ลำต้นชนิดนี้มักเรียกว่า แง่ง หรือเหง้า เช่น ขิง ข่า ขมิ้น พุทธรักษา หญ้าคา หญ้าแพรก
สำหรับกล้วยเป็นลำต้นใต้ดินที่คล้ายไรโซม แต่มีลักษณะตั้งตรงแทนที่จะขนานไปกับผิวดิน จึงเรียกว่า รูตสต็อก (root stock) ส่วนที่เห็นคล้ายลำต้นซึ่งโผล่พ้นดินมีสีเขียวนั้นเป็นกาบใบที่แผ่ซ้อนกันเป็นมัดตั้งตรงคล้ายลำต้น













ก. ลำต้นใต้ดินของขมิ้น ข. ลำต้นใต้ดินของข่า


  • 2) ทูเบอร์ (tuber) เป็นลำต้นใต้ดินสั้น ๆ ประกอบด้วยข้อและปล้องประมาณ 3-4 ปล้องเท่านั้น ไม่มีใบเกล็ด ลำต้นมีอาหารสะสมทำให้อวบอ้วน มีตาอยู่โดยรอบซึ่งมักจะบุ๋มลงไป สามารถงอกต้นใหญ่ชูขึ้นเหนือดินในบริเวณตานั้น ได้แก่ มันฝรั่ง
  • 3) บัลบ์ (bulb) เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรง อาจโผล่พ้นดินขึ้นมาบ้าง มีปล้องสั้นมาก ตามปล้องมีใบเกล็ดซ้อนกันหลายชั้นห่อหุ้มลำต้นเอาไว้เห็นเป็นหัวขึ้นมา ใบเกล็ดนี้จะทำหน้าที่สะสมอาหาร ในขณะที่ลำต้นไม่มีอาหารสะสมอยู่ ส่วนล่างของลำต้นมีรากเป็นกระจุก เช่น หอม กระเทียม พลับพลึง











รูปที่ 13 ภาพ ลำต้นแบบบัลบ์ของหัวหอมและกระเทียม

  • 4.) คอร์ม (corm) เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรงเช่นเดียวกับบัลบ์ มีข้อปล้องเห็นชัดตามข้อมีใบเกล็ดบาง ๆ หุ้ม ลำต้นหน้าที่สะสมอาหารทำให้อวบอ้วน มีตาตามข้อสามารถงอกเป็นใบโผล่ขึ้นเหนือดินหรืออาจแตกเป็นลำต้นใต้ดินต่อไปได้ ส่วนล่างของลำต้นมีรากฝอยเส้นเล็ก ๆ จำนวนมาก เช่น เผือก แห้วจีน ซ่อนกลิ่นฝรั่ง















รูปที่ 14 ภาพ ลำต้นแบบคอร์มของแห้วและเผือก

12.4 หน้าที่ของลำต้น
ลำต้นมีหน้าที่สำคัญ 2 อย่าง คือ
  • 1. เป็นแกนสำหรับช่วยพยุง ( supporting ) กิ่งก้านสาขา ใบ และดอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยให้ใบกางออกรับแสงแดดมาก
ที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • 2. เป็นตัวกลางสำหรับลำเลียง ( transportation ) น้ำ เกลือแร่ และอาหาร ส่งผ่านไปยังส่วนต่างๆของพืช
นอกจากนี้ลำต้นยังมีหน้าที่พิเศษอื่นๆอีกหลายอย่าง เช่น สะสมอาหาร แพร่พันธุ์ สังเคราะห์แสง เป็นต้น

โดย ครู วัชวัลย์ ครุฑไชยันต์
ครู คศ.3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต


21 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ2 ธันวาคม 2553 เวลา 04:18

    เนื้อหาดีมากคร้า

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ8 ธันวาคม 2553 เวลา 04:46

    มีประโยชน์มาก ครับ ขอบคุณมากทีสร้างblog นี้ขึ้นมากครับ

    ตอบลบ
  3. เหมือนเนื้อหาที่คุณครูที่โรงเรียน ร.ว.สอนเลยยยค่าา
    ดีมากกๆ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณค่ะ เนื้อหาดีมากๆเลยค่ะ เข้าใจง่าย รูปภาพสวย

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ3 มีนาคม 2555 เวลา 21:09

    เข้าใจมากมาย ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  6. ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

    ตอบลบ
  7. อ่านแล้วเข้าใจมากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  8. ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ11 กรกฎาคม 2556 เวลา 00:15

    ขอบคุณมากๆค่ะ ข้อมูลนี้ช่วยได้มากจริงๆ การจัดเรียงเนื้อหาดีและเข้าใจง่าย ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ25 กันยายน 2556 เวลา 03:46

    ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลค่ะ

    ตอบลบ
  11. ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

    ตอบลบ
  12. ขอบคุณคะ ช่วยได้เยอะเลย ^ ^

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ31 สิงหาคม 2558 เวลา 06:52

    ขอบคุณค่ะ ช่วยในการทำงานได้เยอะเลย

    ตอบลบ
  14. ขอบคุณมากๆเลยครับ

    ตอบลบ
  15. ไม่ระบุชื่อ17 กรกฎาคม 2560 เวลา 23:20

    ขอบคุณมากค่า

    ตอบลบ
  16. ไม่ระบุชื่อ22 กรกฎาคม 2560 เวลา 21:04

    กราบงามๆค่ะ������

    ตอบลบ
  17. ไม่ระบุชื่อ8 มกราคม 2561 เวลา 19:12

    ปันปัน

    ตอบลบ
  18. ไม่ระบุชื่อ8 มกราคม 2561 เวลา 19:16

    สมหมายพ่อบอส

    ตอบลบ
  19. ไม่ระบุชื่อ8 มกราคม 2561 เวลา 19:18

    ลูกตาหนึ่ง

    ตอบลบ

ฝึกภาษาอังกฤษบน LINE ฟรี

เพิ่มเพื่อน