กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

รูปที่ 1 แสดงกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ( photosynthesis ) เป็นการสร้างอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตของพืชสีเขียวเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของพืชอีกทั้งยังเป็นการผลิตอาหารสำหรับสิ่งมีชีวิตอื่นๆบนโลกในพืชสีเขียวนั้นมีคลอโรฟิลล์ที่ทำหน้าที่ดูดกลืนพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์มาใช้ในการสร้างอาหารนอกจากนั้นพืชยังจำเป็นต้องใช้น้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสารอนินทรีย์โมเลกุลเล็กมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงอีกด้วย

1. ปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  • 1.1 ปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง ( light reaction )

รูปที่ 2 แสดงตำแหน่ง และองค์ประกอบของคลอโรพลาสต์ในพืช


รูปที่ 4 แสดงการซ้อนกันของไทลาคอยด์เป็นกรานา และส่วนที่เชื่อมต่อต่อสโตรมาลาเมลลา

ออร์แกเนลล์ที่สำคัญของพืช คือ คลอโรพลาสต์ ( chloroplast ) เป็นแหล่งที่เกิดปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง จากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน และเทคนิคต่าง ๆ ทำให้ทราบลักษณะของคลอโรพลาสต์ โดยคลอโรพลาสต์ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างกลมรี มีขนาดยาวประมาณ 5 ไมโครเมตร กว้าง 2 ไมโครเมตร และหนาประมาณ 1 – 2 ไมโครเมตร จำนวนแต่ละเซลล์มีไม่แน่นอน มีตั้งแต่สิบขึ้นไ ปจนถึงร้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของพืช และชนิดของเซลล์พืช คลอโรพลาสต์มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น เรียกว่า ยูนิกเมมเบรน ภายในเป็นของเหลวเรียกว่า สโตรมา ( stroma ) เยื่อหุ้มชั้นในของคลอโรพลาสต์จะแผ่เข้าไปข้างในกลายเป็นโครงสร้างย่อย ๆ ที่เป็นเยื่อบาง ๆ เรียกว่า ลาเมลลา( lamella ) ลาเมลลาส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแผ่นกลมแบนบาง ๆ และเรียงซ้อนกันเป็นตั้ง เรียกว่า กรานา ( grana ) ส่วนนี้จะหนากว่าส่วนอื่น ๆ แต่ละชั้นของกรานา เรียกว่า ไทลาคอยด์ ( thylakoid ) ในคลอโรพลาสต์เต็มไปด้วยกรานาที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป คลอโรพลาสต์ที่เจริญเต็มที่แล้วประกอบด้วยกรานา 40 - 60 กรานา ต่อ 1 คลอโรพลาสต์ ส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างกรานา เรียกว่า อินเตอร์กรานา ( intergrana ) หรือ สโตรมาลาเมลลา ( stroma lamella ) หรือ สโตรมาไทลาคอยด์ ( stroma thylakoid ) ลาเมลลาประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ภายในบรรจุด้วยคลอโรฟิลล์ และ แคโรทีนอยด์ ( carotenoids ) ทางผิวด้านหน้าของไทลาคอยด์จะมีรงควัตถุอยู่เป็นกลุ่มๆ อยู่ ทำให้มองดูมีลักษณะเป็นเม็ด ๆ เรียกว่า แกรนูล ( granule ) แกรนูลมีทั้งขนาดเล็ก และใหญ่ สำหรับแกรนูลที่มีขนาดใหญ่ภายในมีกลุ่มของรงควัตถุระบบแสงที่ I ( Photosystem I ) หรือP 700 รับพลังงานแสงในช่วงคลื่น 700 นาโนเมตรได้ดี และรงควัตถุระบบแสงที่ II ( photosystem II ) หรือ P680 รับพลังงานแสงในช่วงคลื่น 680 นาโนเมตรได้ดี และระบบแสงทั้ง 2 ระบบนี้จะเรียกรวมกันว่า ควอนตาโซม ( quantasome ) ส่วนแกรนูลที่มีขนาดเล็กเข้าใจว่าเป็นที่อยู่ของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง ส่วนในสโตรมาจะมีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาที่ 2 คือ ปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง

รูปที่ 5 (A) แสดงตำแหน่งของสารโปรตีนคลอโรฟีลล์ และกรดไขมันในกรานา

(B) แสดงการเรียงกันของชั้นดปรตีน คลอโรฟีลล์ แคโรทีนอยด์ และฟอสดพลิพิด

รูปที่ 6 แสดงการดูดแสงสีต่าง ๆ ของคลอโรพลาสต์

1.1.1 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง

1. สารสี ( Pigment ) แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ

1) สารสีระบบที่ 1 ( Pigment system I ) ทำหน้าที่รับพลังงานแสง ซึ่งประกอบด้วยสารชนิดสำคัญ คือ คลอโรฟิลล์ เอ ชนิดรับแสงที่มีความยาวคลื่น 700 นาโนเมตรได้ดี พบในพืช และสาหร่ายทุกกลุ่ม สารสีระบบที่ 1 และตัวรับถ่ายทอดอิเล็กตรอนต่าง ๆ จะประกอบกันเป็นระบบแสง

ที่ 1 ( Photosystem I )

2) สารสีระบบที่ 2 ( Pigment system II ) ทำหน้าที่รับพลังงานแสง ซึ่งประกอบด้วยสารสี ดังนี้

- คลอโรฟิลล์ บี พบเฉพาะในพืช และสาหร่ายสีเขียว

- คลอโรฟิลล์ ซี พบเฉพาะในสาหร่ายสีน้ำตาล และสีน้ำตาล

แกมเหลือง

- คลอโรฟิลล์ ดี พบเฉพาะในสาหร่ายสีแดง

- แคโรทีนอยด์ ( Carotenoids ) พบในพืช และสาหร่ายทุกกลุ่ม

- ไฟโคบิลิน ( Phycobilin )พบในสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและสีแดง

สารสีระบบที่ 2 และตัวรับถ่ายทอดอิเล็กตรอนต่าง ๆ จะประกอบกันเป็นระบบแสงที่ 2 ( Photosystem II )

2. พลังงานแสง ทำหน้าที่ ดังนี้

1) กระตุ้นให้อิเล็กตรอนของคลอโรฟิลล์มีพลังงานสูงขึ้น

2) แยกสารละลายน้ำในปฏิกิริยาที่เรียกว่า โฟโตไลซิส ( Photolysis ) ทำให้เกิดโปรตอน ( H + ) อิเล็กตรอน ( e- ) และ O2

3) ใช้สร้างสารอินทรีย์พลังงานสูง 2 ชนิด คือ ATP , NADPH + H+

3. น้ำ ( H2O ) น้ำจะถูกพืชนำไปสลายให้เป็นโปรตอน และอิเล็กตรอนเพื่อนำไปใช้สร้างน้ำตาลในปฏิกิริยาไม่ใช้แสง และมีผลทำให้เกิด O2 เป็นผลพลอยได้ปล่อยออกทางปากใบของพืช

4. ADP และ Pi ทำหน้าที่รับพลังงานที่ถ่ายทอดออกมาจากอิเล็กตรอนเกิดเป็น ATP

5. NADP+ เป็นสารทำหน้าที่รับโปรตอน และอิเล็กตรอนจากน้ำกลายเป็นสารอินทรีย์พลังงานสูง คือ NADPH + H+

สำรับปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงจะมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทำหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงาน

แสงให้เป็นพลังงานเคมี แล้วเก็บไว้ในสารประกอบ ATP และ NADPH2 เมื่อแสงส่องถูกคลอโรฟีลล์ พลังงานแสงบางส่วนจะถูกคลอโรฟีลล์ดูดซับเอาไว้ ทำให้อิเล็กตรอนภายในโมเลกุลของคลอโรฟีลล์มีพลังงานสูงขึ้น เรียกว่า excited electron และถ้ามีพลังงานแสงมากพอจะทำให้อิเล็กตรอนนี้หลุดออกจากคลอโรฟีลล์ อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาอาจมีจำนวนมาก และจะถูกสารบางอย่างมารับแล้วถ่ายทอดอิเล็กตรอนนี้ไปเป็นทอด ๆ พลังงานภายในอิเล็กตรอนจะลดลงเรื่อย ๆ พลังงานที่ปล่อยออกมาจะถูกนำไปสร้างเป็น ATP หรือ NADPH + H+ การถ่ายทอดอิเล็กตรอนของคลอโรฟีลล์มี 2 ระบบ คือ

1.1.2 การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักร ( cyclic electron transfer )

เป็นการถ่ายทอดอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องกับระบบแสงเพียงระบบเดียวเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า

รงควัตถุระบบที่ 1 ( pigment system I หรือ PSI ) อิเล็กตรอนที่หลุดออกจากรงควัตถุระบบที่ 1 จะถูกส่งไปยังสารตัวกลาง X ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นสารใด แต่เข้าใจว่าน่าจะเป็นเฟร์ริดอกซิน รีดิวซิงซับสแตนซ์

( ferredoxin – reducing substance ) แล้วสาร X จะถ่ายทอดอิเล็กตรอนต่อไปยังเฟร์ริดอกซิน ( ferredoxin ) ไซโทรโครม บี ( cytochrome b ) ไซโทรโครม เอฟ ( cytochrome f ) และพลาสโทไซยานิน ( plastocyanin ) ตามลำดับ จากนั้นอิเล็กตรอนนี้จะมีพลังงานปลดปล่อยออกมา และสามารถนำไปสร้าง ATP ได้ 2 ATP ต่ออิเล็กตรอน 1 คู่

1.1.3 การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร ( noncyclic electron transfer )

รูปที่ 8 แสดงการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักรของรงควัตถุระบบที่ I และระบบที่ II

การถ่ายทอด อิเล็กตรอนวิธีนี้ต้องใช้ระบบแสง 2 ระบบ คือ ระบบแสงที่ 1 ( photosystem I

หรือ PS I ) และระบบแสงที่ 2 ( photosystem II หรือ PS II ) การถ่ายทอดอิเล็กตรอนวิธีนี้ต้องมีการสลายตัวของโมเลกุลน้ำ จึงเรียกได้อีกอย่างว่า กระบวนการโฟโตไลซิส ( photolysis ) ซึ่งค้นพบโดยโรบิน ฮิลล์ ( Robin Hill ) ดังนั้นจึงอาจเรียกชื่อตามชื่อของผู้ค้นพบว่า ปฏิกิริยาฮิลล์ ( Hill reaction ) ปฏิกิริยานี้นอกจากมีการแตกตัวของโมเลกุลน้ำแล้วยังมีการสร้าง ATP และ NADPH + H+ ด้วย ปฏิกิริยาเกิดขึ้นเป็นขั้น ๆ ดังนี

1. รงควัตถุระบบแสงที่ 1 ( PS I ) และรงควัตถุระบบแสงที่ 2 ( PS II ) ได้รับการกระตุ้นจากแสงพร้อม ๆ กัน

2. รงควัตถุระบบแสงที่ 1 เมื่อได้รับพลังงานขึ้น ( จากพลังงานแสง ) จะหลุดออกจากคลอโรฟีลล์ และถูกต่อไปยังสาร X และเฟร์ริดอกซิตตามลำดับ จากนั้น NADP+ จะมารับอิเล็กตรอนเป็นตัวสุดท้าย ทำให้ระบบรงควัตถุที่ 1 ขาดอิเล็กตรอนไป 1คู่

3. โมเลกุลของน้ำแตกตัวเป็น2H+ และ 2OH- 2H2O 2H+ +2OH-

4. NADP+ ที่รับอิเล็กตรอนจาดรงควัตถุระบบแสงที่ 1 จะมารับ2H+ จาก โมเลกุลของน้ำเป็น NADPH +H+


NADP+ + 2e- +2H+ NADPH + H+

5. 2OH- จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีจนเป็นน้ำ ออกซิเจน และ อิเล็กตรอน
6. 2e- จากโมเลกุลของน้ำนี้ถูกส่งไปยังรงควัตถุระบบที่ 2
7. 2e- จากรงควัตถุระบบแสงที่ 2 จะถูกส่งไปยัง ไซโทโครม Q พลาสโทคิวโนน ( plastoquinone ) ไซโทโครม บี แล้วมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาสร้าง ATP แล้วจึงส่งต่อไปยังไซโทโครม เอฟพลาสโทไซยานิน และรงควัตถุระบบแสงที่ 2 ตามลำดับ


  • 1.2 ปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง ( dark reaction )

ปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสงเป็นปฏิกิริยาที่เกิดภายในสโตรมาของคลอโรพลาสต์ โดยเป็นปฏิกิริยาเคมีล้วนๆ (Chemical reaction) โดยปฏิกิริยานี้ไม่ต้องการแสงสว่าง ( ไม่มีแสงสว่างก็ได้ ) แต่ต้องการ ATP และ NADPH + H+ (ซึ่งมีพลังงานศักดิ์สูงอยู่ในโมเลกุล) จากปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง โดยนำมาใช้การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ (ซึ่งมีพลังงานศักดิ์ในโมเลกุลต่ำในบรรยากาศให้เป็นคาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีพลังงานศักดิ์อยู่ในโมเลกุลสูง ) ดังนั้น ปฏิกิริยานี้จึงเรียกได้อีกอย่างว่า ปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ ( carbondioxide fixation ) สำหรับบุคคลแรกที่ใช้คำว่า dark reaction คือ เอฟ.เอฟ.แบลคแมน (F.F. Flack Man) เมื่อปี พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905)

เหตุที่ได้กราฟออกมาดังนี้ เนื่องจากในขณะที่มีแสง PGA ถูกสร้างขึ้นจาก RuBP และ 14CO2 ได้

ตลอดเวลา และ PGA บางส่วนก็สามารถเปลี่ยนไปเป็น RuBP ได้ แต่ในสภาพที่ไม่มีแสง RuBP สามารถรวมตัวกับ 14C2 แล้วสลายตัวเป็น PGA จึงมีมาก ทำให้ RuBP ลดจำนวนลงและ RuBP สร้างขึ้นใหม่ไม่ได้ เนื่องจากปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงไม่มีจึงไม่มี ATP และ NADPH + H+ มาใช้ในการเปลี่ยน PGA เป็น RuBP ในขณะที่มีแสงและมี 14C2 การสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดได้ตามปกติ RuBP สามารถรวมตัวกับ 14C2 ได้ แล้วแตกตัวเป็น PGA ได้ในในขณะเดียวกัน PGA ส่วนหนึ่งก็สามารถสร้างกลับไปเป็น RuBP ได้ ดังนั้นปริมานของ PGA และ RuBP จึงคงที่ แต่เมื่อมีแสงและไม่มี 14C2 ปริมานของ PGA จะลดลงเนื่องจาก PGA สามารถเปลี่ยนเป็น RuBP ได้ เพราะยังคงมีปฏิกิริยาที่ใช้แสงอยู่ทำให้มี ATP และNADPH + H+ อยู่ตลอดเวลา PGA จึงรวมตัวกับ ATP และNADPH+ H+ เป็น RuBP เมื่อไม่มี 14C2 ทำให้ RuBP ไม่ถูกใช้ไป RuBP จึงมีเพิ่มมากขึ้น PGA ไม่มีการสร้างเพิ่ม แต่ถูกใช้ไปเรื่อยๆปริมาณจึงลดลง

เมลวิน แคลวิน ( Melvin Calvin ) แอนดริว เอ.เบนสัน (Andrew A. Benson) และคณะแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เบริกเลย์ ได้ทดลองและศึกษาเกี่ยวกับปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสงดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นอกจากนั้นผลการทดลองยังพบอีกว่าปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดเกิดขึ้นต่อเนื่องกันเป็นวงจร หรือวัฏจักร จึงเรียก วัฏจักรนี้ว่า วัฏจักรแคลวิน เบนสัน (Calvin – Benson cycle) จากการศึกษาของแคลวินและเบนสัน ยังพบอีกว่าสารชนิดแรกที่อยู่ตัว ซึ่งเกิดขึ้นในปฏิกิริยา คือ กรดฟอสโฟกลีเซอริก (phosphoglyceric acid หรือ PGA) ปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงมี 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ตามลำดับ คือ

รูปที่ 10 แสดงวัฏจักรเเคลวิน

1. ปฏิกิริยาขั้นที่ 1 เป็นปฏิกิริยาการรวมตัวระหว่างคาร์บอนไดออกไซด์ กับ RuBP เกิดเป็น

PGA ขึ้น 2 โมเลกุล เรียกปฏิกิริยานี้ว่า คาร์บอกซิเลชัน ( Carboxylation ) ปฏิกิริยาจะใช้เอนไซม์รูบิสโก (Rubisco enzyme) หรือ RuBP Carboxylase เร่ง

เริ่มต้นด้วยสารตั้งต้น คือ RuBP ซึ่งเป็นน้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม และหมู่ฟอสเฟต 2 หมู่ จะเข้ารวมตัวกับ CO2 ได้เป็นสารประกอบใหม่ที่มีคาร์บอน 6 อะตอม (Keto-acid) แต่สารนี้จะไม่อยู่ตัวจะสลายไปเป็น PGA 2 โมเลกุล ซึ่งแต่ละโมเลกุลของ PGA จะมีคาร์บอน 3 อะตอม และฟอสเฟต 1 หมู่ PGA นี้จึงถือว่าเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่อยู่ตัวชนิดแรกในการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ ถ้าเริ่มจาก RuBP 6 โมเลกุล รวมตัวกับ CO2 6 โมเลกุล จะได้ PGA 12 โมเลกุล ดังสมการ


6RuBP + 6CO
2 12PGAL

2. ปฏิกิริยาขั้นที่ 2 เป็นปฏิกิริยาที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีการรีดิวซ์ (Reduce) PGA ให้เป็นPGAL (Phosphoglyceraldehyde) โดยอาศัยสารที่ให้พลังงานสูง ATP และตัวรีดิวซ์ (Reducer หรือ Reductant) คือ NADPH + H+ ที่ได้จากจากปฏิกิริยาที่ใช้แสง เรียกปฏิกิริยาขั้นตอนนี้ว่า รีดักชัน (Reduction) PGAL 1 โมเลกุล ประกอบด้วยคาร์บอน 3 อะตอม และฟอสเฟต 1 หมู่ ดังนั้นเมื่อเริ่มจาก PGA 12 โมเลกุลจึงได้เป็น PGAL 12 โมเลกุล ดังสมการ


12PGA + 12ATP + 12NADPH + H+ 12PGAL + 12ADP + 12Pi + 12NADP+

ข้อควรทราบพิเศษ : PGAL ที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยานี้ ถือว่าเป็นน้ำตาลชนิดแรกสุดที่เป็นผลผลิตสำคัญของปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสง


3. ปฏิกิริยาขั้นที่ 3 เป็นปฏิกิริยาที่นำ PGAL 12 โมเลกุล ไปเปลี่ยนแปลงต่อไป 2 วิถีทาง คือ

  • 1) PGAL 10 โมเลกุล จะเปลี่ยนไปเป็น RuBP 6 โมเลกุล ในการเปลี่ยนแปลงนี้

จะต้องใช้พลังงานจาก ATP ที่ได้จากปฏิกิริยาที่ใช้แสง และใช้หมู่ฟอสเฟตที่เกิดขึ้นจากการสลายตัวนี้อีก 2 หมู่ จึงเหลือหมู่ฟอสเฟตที่ได้จากการสลายตัวของ ATP เพียง 4 หมู่ ดังสมการ


10PGAL + 6ATP 6RuBP + 6ADP + 4Pi

ปฏิกิริยาการสร้าง RuBP ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งจาก PGAL เพื่อที่จะทำให้วัฏจักร

สามารถเกิดขึ้นได้ต่อไป เรียกปฏิกิริยาขั้นนี้ว่า รีเจเนอเรชัน (Regeneration)

  • 2) PGAL ที่เหลือ 2 โมเลกุล อาจนำไปใช้เปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสและแป้งตามลำดับ เพื่อที่จะนำไปในกระบวนการเมแทบอลิซึมหรือเก็บสะสมไว้ การสร้างน้ำตาลกลูโคส หรือแป้งจาก PGAL เรียกว่า การสังเคราะห์ (Synthesis)

รูปที่ 11 แสดงปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

  • PGAL ถูกใช้ในหลายกิจกรรม คือ
  • 1. สร้างเป็น RuBP ซึ่งเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรแคลวิน
  • 2. ใช้เป็นสารตัวกลางในกระบวนการหายใจโดยเข้าในช่วงไกลไคไลซิส ซึ่งจะเข้าวัฏจักรเครบส์ และระบบถ่ายอิเล็ดตรอนต่อไป
  • 3. ถูกส่งไปยังเซลล์ข้างเคียงเพื่อกิจกรรมต่างๆ
  • 4. สร้างเป็นสารที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้น เช่น กลูโคส แป้ง เซลลูโลส เพกทินหรือไขมันต่อไป
  • จากปฏิกิริยาขั้นที่ 1 จนถึงปฏิกิริยาขั้นที่ 3 เมื่อรวมสมการจะได้สมการรวม ดังนี้


6CO2 + 18ATP + 12NADPH + H+ C6H12O6 + 18Pi + 12NADP+ + 6H2O


สำหรับปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงที่สมบูรณ์ คือ


6CO2 + 12H2O (มีแสง+ มีคลอโรฟิล ) C6H12O6 + 6O2 + 6H2O




โดย ครู วัชวัลย์ ครุฑไชยันต์
ครู คศ.3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

20 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ9 กรกฎาคม 2555 เวลา 17:33

    ดีจังค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ16 กรกฎาคม 2555 เวลา 02:04

    อยากจะดูข้อมูลเกี่ยวกับลผลผลิตจากการสังเคราะห์ด้วยแสง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ8 มกราคม 2556 เวลา 06:56

      ก้อคือ น้ำตาลกลูโคสงัยค่ะ แล้วมันจะเปลี่ยนเป็นแป้งทันที และจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลอีกครั้งเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต ค่ะะะ

      ลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ28 สิงหาคม 2555 เวลา 10:33

    เข้าใจง่ายดี

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณค่ะ:))

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ10 มกราคม 2556 เวลา 05:24

    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ21 มกราคม 2556 เวลา 04:05

    อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบ การสังเคราะห์ด้วยแสง

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ23 มกราคม 2556 เวลา 03:28

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ27 มกราคม 2556 เวลา 07:41

    เข้สใจเลย^^

    ตอบลบ
  9. ขอบคุณครับ ผมเรียนที่ ร ร ไม่ค่อยรู้เรื่องเลย เรียนด้วยตัวเองกับอาจารย์นี้ เข้าใจเลย มีบอกขั้นตอนด้วยแต่ผมมีข้อสงสัยครับ

    7. 2e- จากรงควัตถุระบบแสงที่ 2 จะถูกส่งไปยัง ไซโทโครม Q พลาสโทคิวโนน ( plastoquinone ) ไซโทโครม บี แล้วมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาสร้าง ATP แล้วจึงส่งต่อไปยังไซโทโครม เอฟพลาสโทไซยานิน และรงควัตถุระบบแสงที่ 2 ตามลำดับ

    สุดท้ายส่งไปยัง PSI รึเปล่าครับอ่านละงงๆ

    ตอบลบ
  10. เข้าใจง่ายดีครับ

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ30 กันยายน 2557 เวลา 07:41

    ช่วยได้เยอะเลยค่ะ

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ13 กรกฎาคม 2558 เวลา 03:56

    บอกหน่อยว่า เอนไซม์รูบิสโก คืออะไร มีประโยชน์ไหม เกี่ยวอะไรกับยาฆ่าหญ้า

    ตอบลบ
  13. ฟอสเฟต ที่หลุดไป4ตัว ในตอนรีเจ็น หลุดไปสร้างสารอะไรครับ

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ17 กรกฎาคม 2559 เวลา 20:03

    ควรทบทวนความถูกต้องของปฏิกิริยาเสียใหม่ ที่ถูกต้องคือ
    6H2O+6CO2--->C6H12O6+6O2 ครับ

    ตอบลบ
  15. ทำไมเด็กต้องเรียนลึกถึงขั้นส่วนประกอบเล็กๆในออแกเนลล์ แต่กลับไม่เข้าใจภาพรวมของกระบวนการสังเคราะห์แสงเอาซะเลย กระบวนการนี้เกิดได้ยังไง ทำไม มีประโยชน์อะไรกับโลก ต่อยอดงานอะไรได้บ้าง เด็กไม่ได้ไอเดียพวกนี้เลย หลักสูตรนี้เน้นผิดจุดไปหรือเปล่า

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ21 สิงหาคม 2560 เวลา 06:53

      ได้นำไปใช้ในการสอบTcasค่ะเพราะการที่เราเรียนลึกลงไปจะทำให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยตรงค่ะ

      ลบ

ฝึกภาษาอังกฤษบน LINE ฟรี

เพิ่มเพื่อน