ต่อมใต้สมอง

ต่อมใต้สมอง (pituitary gland)

ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland ) เป็นต่อมที่อยู่ติดกับสมองส่วนล่างของสมองส่วน

ไฮโพทาลามัส แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ต่อมใต้สมองส่วนกลาง ต่อมใต้สมองส่วนหลัง

รูปที่ 3-4 แสดงต่อมใต้สมอง

ต่อมใต้สมอง( pituitary gland) อยู่ตรงส่วนล่างของสมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( anterior lobe of pituitary gland )

2. ต่อมใต้สมองส่วนกลาง ( intermediated lobe of pituitary )
3. ต่อมใต้สมองส่วนหลัง( posterior lobe of pituitary gland)

1. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( anterior lobe of pituitary gland )

เป็นส่วนที่ไม่ได้เกิดจากเนื้อเยื่อประสาท การทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของ hypothalamus

สร้างฮอร์โมนประเภทสารโปรตีนหรือพอลิเพปไทด์ ได้แก่

1.1 Growth hormone(GH) หรือ Somatotrophic hormone (STH)

ฮอร์โมนนี้หลั่งตอนหลับมากกว่าตอนตื่นและตอนหิวมากกว่าช่วงปกติ เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย polypeptide ที่มีกรดอะมิโน 191 ตัว มีธาตุกำมะถันอยู่ในรูป disulphide กระตุ้นให้เกิดการเจริญของกล้ามเนื้อและกระดูกโดยอาศัย thyroxin และ insulin เป็นตัวคะตะลิสต์มีอิทธิพลกระตุ้นการเจริญและเพิ่มความยาวของกระดูก กระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

ความผิดปกติของร่างกายที่เกิดจาก Growth hormone

- ถ้าร่างกายขาด GH ในเด็ก ทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ (สติปัญญาปกติ) เรียก Dwarfism การเจริญเติบโตทางเพศถูกยับยั้ง ในผู้ใหญ่ มีอาการผอมแห้ง น้ำตาลในเลือดต่ำ

มีภาวะทนต่อความเครียด (stess) สูง เรียกว่า Simmond’s disease
- ถ้าร่างกายมี GH มากเกินไป ในวัยเด็กจะทำให้ร่างกายเติบโตสูงใหญ่ผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูง จึงมักเป็นโรคเบาหวาน ทนต่อความเครียดได้น้อย เรียกว่า Gigantism ในผู้ใหญ่ กระดูกขากรรไกร คางจะยาวผิดปกติ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าโต จมูกใหญ่ ฟันใหญ่ และห่าง เรียก Acromegaly

รูปที่ 3-5 ภาพแสดงร่างกายขาด GH

1.2 Gonadotrophin หรือ Gonadotrophic hormone ประกอบด้วยฮอร์โมน

ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ
1.2.1 Follicle stimulating hormone (FSH) ทำหน้าที่กระตุ้นฟอลลิเคิลให้สร้างไข่และไข่สุก มีการสร้างฮอร์โมน estrogen ออกมา และกระตุ้น seminiferrous tubule ให้สร้างอสุจิ อสุจิพบในเพศชาย
1.2.2 Lutinizing hormone (LH) ทำหน้าที่ กระตุ้นให้ไข่ตก จากฟอลลิเคิล สำหรับในเพศชาย กระตุ้นให้ interstitial cells ในอัณฑะสร้างฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งอาจเรียกว่า Interstitial Cell Stimulating Hormone (ICSH) พบในเพศหญิง

1.3 Prolactin หรือ Lactogenic hormone (LTH) ทำหน้าที่ กระตุ้นการเจริญ

ของต่อมน้ำนมในเพศหญิง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ร่วมกับ androgen ในเพศชายกระตุ้นต่อมลูกหมาก ในการบีบตัวของท่อนำอสุจิและการสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ

รูปที่ 3-6 ภาพแสดงการทำงานของ Prolactin

1.4 Andrenocorticotrophin หรือ Adrenocorticotrophic hormone (ACTH)

มีหน้าที่กระตุ้นทั้งการเจริญเติบโต และการสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอก ให้สร้างฮอร์โมนตามปกติและกระตุ้นการหลั่ง insulin การหลั่ง GH ควบคุมการทำงานของต่อมเหนือไตชั้นนอก ( adrenal cortex ) ทำให้สีของสัตว์เลือดเย็นเข้มขึ้น มีโครงสร้างเหมือน MSH

1.5 Thyroid Stimulation hormone (TSH) ทำหน้าที่ กระตุ้นให้มีการเพิ่มการ

นำไอโอดีนเข้าต่อมไทรอยด์ เพื่อเพิ่มการสังเคราะห์ thyroxine hormone การหลั่งฮอร์โมนจาก ต่อมใต้สมองส่วนหน้า จะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่สร้างจากสมองส่วน hypothalamus มีฮอร์โมน ที่กระตุ้นและยับยั้ง การผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและมีชื่อเรียกตามผลที่แสดงออก ต่อการสร้างฮอร์โมน

1.6 เอนดอร์ฟิน (endorphin ) เป็นสารที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน พบว่า มีแหล่งสร้าง

จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า และอาจสร้างจากเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆ ด้วย เป็นสารที่ทำหน้าที่ระงับความเจ็บปวดและเชื่อกันว่า เป็นสารที่ช่วยทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มความตื่นตัว มีชีวิตชีวาและมีความสุข โดยสารนี้มักจะหลั่งออกมาตอนที่เราออกกำลังกาย หรือเมื่อเรามีอารมณ์แจ่มใส จึงเรียก สารดังกล่าวนี้ว่า สารแห่งความสุข

2. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง (Intermediate lobe) มีขนาดเล็กมากทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน Melanocyte Stimulating Hormone (MSH) ทำหน้าที่ปรับสีของสัตว์เลือดเย็น ให้เข้มขึ้น (ทำหน้าที่ตรงข้ามกับ Malatonin จากต่อม pineal )ในสัตว์เลือดอุ่นมีหน้าที่ไม่แน่ชัด

3. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior lobe) เป็นกลุ่มเซลล์ของ

เนื้อเยื่อประสาทจาก hypothalamus ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนภายนอก แล้วลำเลียงมาไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ได้แก่

3.1 Oxytocin ทำให้กล้ามเนื้อมดลูก เต้านม กระเพาะปัสสาวะมีการหดตัว ฮอร์โมนนี้จะมีการหลั่งออกมาตอนคลอดลูกและในขณะร่วมเพศ แต่ถ้าหลั่งออกมามากก่อนคลอด จะทำให้แท้งลูกได้
3.2 Vasopressin หรือ Antidiuretic hormone ( ADH ) ทำให้เส้นเลือดมีการ หดตัวช่วยให้ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับคืน ทำให้ลดการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ที่จำเป็น ถ้าร่างกายขาด จะปัสสาวะมากทำให้เกิดโรคเบาจืด( diabetes inspidus)

รูปที่ 3-6 แสดงการทำงานของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง

ที่มา : Campbell, Reece and Mitchell. Biology, 1999 : 901



โดย ครู วัชวัลย์ ครุฑไชยันต์
ครู คศ.3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ31 มกราคม 2565 เวลา 15:00

    KADAR KANDAR | Online Casino And Sportsbook Near You
    In this place, you can enjoy a full range of sports betting including the sports betting kadangpintar odds, casino games and online gaming, along 메리트 카지노 with a casino and 메리트 카지노 쿠폰

    ตอบลบ

ฝึกภาษาอังกฤษบน LINE ฟรี

เพิ่มเพื่อน